เยี่ยมชมและรับฟังแนวทางการดำเนินงานเขาดินโมเดล

วันที่ 29 มีนาคม 2567 ที่ทุ่งสมุนไพรป่าชายเลน ต.เขาดิน อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา รองศาสตราจารย์ มณฑล แก่นมณี ประธานอนุกรรมการ การขับเคลื่อน การเชื่อมโยงประโยชน์จากการลงทุนสูการพัฒนาพื้นที่ชุมชน รวมทั้งคณะติดตาม ผู้ทรงคุณวุฒิ อาจารย์ราชภัฏฯฉะเชิงเทรา ปลัดฯ อบต.เขาดิน ผู้นำชุมชน คุณกุลพรภัสร์ วงค์มาจารภิญญา ประธานผู้บริหารนิคมอุตสาหกรรมฉะเชิงเทรา บลูเทคซิตี้ ได้ร่วมลงพื้นที่มาเยี่ยมชมผลงานประชุมหารือและรับฟังแนวทางการดำเนินงาน “เขาดิน โมเดล”คุณกุลพรภัสร์ วงค์มาจารภิญญา ประธานผู้บริหารนิคมอุตสาหกรรมฉะเชิงเทรา บลูเทคซิตี้ กล่าวว่า ในภาคธุรกิจเราสนใจทำธุรกิจเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

จึงได้ตั้งชื่อว่า BlueTech City ที่หมายถึงธุรกิจสีฟ้า เป็นธุรกิจพลังงานสะอาดเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตแก่คนในสังคมไทยทุกชนชั้นวรรณะ ส่วนในภาคสังคมชุมชนท้องถิ่น เรามุ่งมั่นสร้างการอยู่ร่วมกันของอุตสาหกรรมกับชุมชน อย่างมีความสุขที่ยั่งยืน ซึ่งจากประสบการณ์ที่เราลงพื้นที่พบว่าการสร้างมิตรภาพในชุมชน ต้องใช้ใจทำงาน ใช้ใจแลกใจ โดยเราสามารถสรุปเป็นประสบการณ์ที่ทำสำเร็จ ในรูปแบบ “5 ก. โมเดล ดังนี้ ก.ที่ 1-เกียรติ คือ การให้เกียรติซึ่งกันและกัน เอาใจเข้ามาใส่ใจเรา ชาวบ้านมีปัญหาเราจะละเลยอยู่เฉยมิได้ จึงทำให้เกิดโครงการหมู่บ้านบลูเทคที่แก้ปัญหาที่อยู่อาศัย ทำให้ชาวบ้านมีบ้านเป็นของตนเอง ส่งผลให้เรามีเพื่อนบ้านที่ช่วยเหลือเกื้อกลูกันจนทุกวันนี้ ก.ที่ 2.กล้า คือ หัวใจต้องมีความกล้าหาญ กล้าคิด กล้าทำ กล้านำ กล้าเปลี่ยน จึงทำให้เกิดโครงการทุ่งสมุนไพรป๋าชายเลน ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ที่ยังไม่มีใครกล้าคิดกล้าทำในเชิงพาณิชย์ จนในวันนี้เราสามารถโชว์ผลงานได้ทั้งเวชสำอางและผ้าย้อมสีธรรมชาติจากสมุนไพรป่าชายเลน ในพื้นที่ของเรา ก.ที่ 3. แก้ใข คือ การสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นนักแปรปัญหาเป็นปัญญา มองหาโอกาสมากกว่าข้อจำกัด ก.ที่ 4.แกร่ง คือ การมีหัวใจภายในที่กล้าแกร่ง อดทนต่ออุปสรรคและปัญหา และ ก.ที่ 5 – กตัญญู คือ การมีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและแผ่นดินไทย
จากการมีอุดมการณ์ 5 ก.โมเดล ส่งผลให้เรามีกัลยาณมิตรมาช่วยงานมากมาย อย่าง โดยในวันนี้มีไฮไลท์ เด่นๆ อยู่ 4 เรื่อง

คือ
1. ผลิตภัณฑ์เวชสำอาง จาก เหงือกปลาหมอ
2. ผ้าย้อมสีสมุนไพรป่าชายเลน เป็นผ้าโลว์คาร์บอน
3. อาหารจากป่าชายเลน
4. การเพาะพันธุ์ลูกปูคืนสู่ธรรมชาติ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้เศรษฐกิจชุมชน
นอกจากนั้น เรายังมีแผนในอนาคตที่จะจัดตั้งศูนย์วิจัยมาตรฐานผลิตภัณฑ์ รวมทั้งพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ดูงานสู่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และเป็นพื้นที่ฝึกงานของกลุ่ม Start Up ให้เป็นซิลิกอนวัลเลย์ เมืองนวัตกรรมเทคโนโลยีแห่งอนาคต ในเร็วๆนี้ โดยการจัดแสดงผลงานในรูปแบบ Blue’Tech City Model ในวันนี้ จะเป็นต้นแบบการพัฒนาสู่สังคมชุมชนท้องถิ่น นำไปสู่การอยู่ร่วมกันของอุตสาหกรรมกับชุมชน อย่างมีความสุข
ที่ยั่งยืนต่อไป

อาษา/ปรีญาภรณ์ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา