ม.ราชภัฏนครราชสีมา ชวนบรรดานักท่องเที่ยวชาวจีน ร่วมสัมผัสวิถีชีวิตชุมชนคนปั้นดิน ด่านเกวียน เร่งผลักดันท่องเที่ยวต้นแบบ

วันที่ 29 สิงหาคม 2566 เวลา 09.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ศูนย์เรียนรู้เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน ตําบลด่านเกวียน อําเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา อาจารย์ธวัญรัตน์ ประจันตะเสน และทีมคณาจารย์ จากคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ผศ.ดร.จุฑาทิพย์ สุทธิเทพ อาจารย์สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ได้นำนักท่องเที่ยวชาวจีน ร่วมกับ ท่องเที่ยวกีฬาจังหวัดนครราชสีมา สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมเยี่ยมชมวิถีชีวิตชุมชนคนปั้นดิน ด่านเกวียน โคราช ท่องเที่ยวต้นแบบ ชุมชนตำนานคนติดดิน

 

 

 

 

โดยสถานที่แรกเป็นศูนย์การเรียนรู้ด่านเกวียน ซึ่งนักท่องเที่ยว ได้ศึกษาข้อมูลความเป็นมาของด่านเกวียน รวมถึงจัดแสดงนิทรรศการที่เกี่ยวข้อง นั่งรถรางนําเที่ยวไปบ้านช่างศิลป์ นายเมี้ยน สิงห์ทะเล ชมภูมิปัญญาที่ถูกส่งต่อรวมถึงองค์ความรู้ เทคนิคและใช้ประสบการณ์พัฒนาสร้างสรรค์ผลงาน ก่อนไปสัมผัสวัดด่านเกวียน เพื่อเยี่ยมชมวิถีชีวิตของชุมชนด่าน เกวียน และพบกับกิจกรรมต้อนรับ “รําโทนด่านเกวียน” ไหว้พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ในพระอุโบสถวัดด่านเกวียน ที่ประชาชนกราบ สักการะบูชาและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ชมการสาธิตและทดลอง ตําข้าวด้วยครกโบราณ เดินข้ามสะพานด่านเกวียน หรือ สะพานไม้ 100 ปี ข้ามลําน้ํามูล

 

 

อาจารย์ธวัญรัตน์ ประจันตะเสน และทีมคณาจารย์ จากคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เปิดเผยว่า การจัดกิจกรรมท่องเที่ยว โดยชุมชนต้นแบบ FAMTrip ด่านเกวียน มีวัตถุประสงค์ เพื่อยกระดับศักยภาพเศรษฐกิจชุมชน ด้วยการท่องเที่ยวโดยชุมชนต้นแบบ ที่เน้นอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมตําบลด่านเกวียน อําเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ด้วยแนวคิดการท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์ และวัฒนธรรม ซึ่งบรรดานักท่องเที่ยวจีน จะชื่นชอบกับการปั้นดิน และตำข้าวเปลือก รวมถึงทานอาหารผัดหมี่โคราช ส้มตำโคราช

 

 

 

สำหรับกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนต้นแบบ (Prototype) Familiarization Trip (FAM Trip) ตําบลด่านเกวียน อําเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา โดยชุมชนต้นแบบ FAM Trip ด่านเกวียน เยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน เทศบาลตําบลด่านเกวียน หมู่บ้านด่านเกวียน ที่ได้รับคัดเลือกให้ เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP ต้นแบบ ในปี พ.ศ.2547 เป็นการบริหารจัดการ ทรัพยากร ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เน้นให้ความสําคัญด้านการพัฒนาคนในชุมชน โดยหมู่บ้าน เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนได้รับเกียรติให้เป็นหมู่บ้านOTOP ต้นแบบ (KnowledgeBased Village Cluster) แห่งแรกในภาคอีสาน และเป็นหนึ่งในสี่ของประเทศ อีกด้วย.