ภาคประชาสังคมเขาใหญ่ ยืนธรรมนูญข้อห่วงใย 5 ข้อ ต่อ รมต.ท่องเที่ยวฯ เดินหน้าปกป้องสิ่งแวดล้อม และธรรมชาติ พื้นที่ดินแดน 3 มรดกโลกของโคราช

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2566 เวลา 14.00 น. ที่โรงแรมเซ็นทารา โคราช อ.เมืองนครราชสีมา นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมกับ นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นายสมเกียรติ วิริยะกุลนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา และ ดร.วัชรี ปรัชญานุสรณ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา ร่วมประชุมหารือการท่องเที่ยว

โดยก่อนการประชุม ดร.วัชรี ปรัชญานุสรณ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา เป็นตัวแทน สมาคมท่องเที่ยวเขาใหญ่ ชมรมฮักเขาใหญ่ ชมรมผู้ประกอบการร้านอาหารอำเภอปากช่อง และภาคีเครือข่ายเยาวชนกลุ่มอนุรักษ์ ยืนหนังสือธรรมนูญข้อห่วงใย การจัดกิจกรรมขนาดใหญ่ ในพื้นที่เขาใหญ่-ปากช่อง จ.นครราชสีมา ที่อาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่โดยรอบดินแดน 3 มรดกโลกของโคราช ซึ่งมีข้อห่วงใยรวม 5 ข้อ จะจัดงานอีเว้นท์ขนาดใหญ่ ต้องมีจิตสำนึก “ไม่ทิ้ง ไม่เท ไม่รวม”

เนื่องด้วยในปัจุบันนี้ พื้นที่โดยรอบ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา กำลังได้รับความนิยม และมีความเจริญด้านธุรกิจการท่องเที่ยวมากขึ้น โดยเฉพาะการก่อสร้างที่พักโรงแรม รีสอร์ท ร้านอาหาร หรือแม้แต่กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว จะมีนักท่องเที่ยวทั้งใน และนอกพื้นที่มาร่วมงานเป็นจำนวนมาก

 

 

 

 

ทั้งนี้สิ่งที่ตามมา จากการจัดกิจกรรมต่างๆ แล้วมีผู้คนเป็นจำนวนมาก รวมถึงนักท่องเที่ยวก็คือ ปัญหาสิ่งแวดล้อม มลภาวะเป็นพิษ ปัญหาขยะ การจราจรติดขัด การอัดรัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว ปัญหาที่พัก การหลอกล่วงฉ้อโกง เป็นต้น

โดยเฉพาะปัญหาสิ่งแวดล้อม จะมีการทิ้งขยะจากนักท่องเที่ยว ตามจุดจอดรถข้างถนนสาธารณะ และพื้นที่ โดยรอบของสถานที่จัดงาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และภาพลักษณ์การท่องเที่ยว ในพื้นที่เขาใหญ่ และอำเภอปากช่อง ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ดินแดนมรดกโลกของโคราช และอันดับ 4 ของโลก ที่เรามีความภาคภูมิใจในรางวัลนี้

จากกรณีดังกล่าว หลายครั้งที่ผ่านมา ผู้จัดงานเองซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน จะมีการจ้างหรือดำเนินการเก็บขยะเอง แต่สิ่งที่เห็นได้ชัด คือการบริหารจัดการ ไม่ได้รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ขยะที่อยู่โดยรอบบริเวณการจัดงาน โดยทางผู้จัดงาน มักจะอ้างว่า ได้จ้างเหมาให้กับคนในพื้นที่ หรือผู้นำชุมชนในพื้นที่เป็นคนดำเนินการ แต่ที่ผ่านมา การแก้ปัญหาจากขยะ ที่ถูกทิ้งทำได้น้อยมาก ถึงแม้จะมีการรณรงค์สร้างจิตสำนึก จากกลุ่มเยาวชนจิตอาสา กันอยู่เป็นประจำก็ตาม

วันนี้ ชมรมฮักเขาใหญ่ ร่วมกับ สมาคมท่องเที่ยวเขาใหญ่ ชมรมผู้ประกอบการร้านอาหารอำเภอปากช่อง เครือข่ายเยาวชนนักเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อม ภาคีอนุรักษ์ธรรมชาติ จึงขอเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการมาตรการดูแลสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ สัตว์ป่า และแม่น้ำลำตะคลอง ดังต่อไปนี้

1.เมื่อมีการขออนุญาติจัดงานคอนเสิร์ต หรือกิจกรรมขนาดใหญ่ๆ ที่มีคนจำนวนมากๆ มาจัดในพื้นที่เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จะต้องให้ผู้จัดเสนอแผนบริหารจัดการเรื่องขยะ ครบวงจร จากต้นทาง ปลายทาง เรื่องมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม ทั้งในและรอบพื้นที่การจัดงานรวมถึงพื้นที่สาธารณะ ที่อยู่ใกล้เคียงพื้นที่การจัดงาน อาทิ ชุมชน ถนนหนทาง หรือแม้กระทั่งพื้นที่สาธารณะ

2. การจัดงานทุกครั้ง จะต้องมีการประชาสัมพันธ์รณรงค์สร้างจิตสำนึกให้กับผู้ที่มาเที่ยวงานตระหนักถึงปัญหาขยะสิ่งแวดล้อม รวมถึงพิธีกร หรือผู้ดำเนินรายการ ศิลปินนักร้อง นักแสดง จะต้องประชาสัมพันธ์ ให้กับผู้ร่วมงานรับทราบเป็นระยะ เพื่อลดปัญหาขยะ ทำลายสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ

3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องมีความเข้มงวด และมีมาตรการลงโทษชัดเจน บังคับใช้กฎหมาย กรณีผู้จัดงานปล่อยปะละเลยไม่ดูแลสิ่งแวดล้อม หรือปัญหาขยะในการจัดงาน โดยเฉพาะการให้อนุญาติจัดงานในปีต่อไป

4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และเอกชน ต้องมีความจริงในในการช่วยกันแก้ปัญหาเรื่องขยะ ปัญหาเรื่องต่างๆ ให้เป็นเรื่องเร่งด่วน อย่าปล่อยให้เรื่องดังกล่าว เป็นความรับผิดชอบของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่ต้องออกมารับผิดชอบ และต้องมีหน่วยงานที่ชัดเจนที่ต้องรับผิดชอบ เมื่อเกิดปัญหา ไม่ใช่ปล่อยผ่านไป

5. หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน จะต้องช่วยกันสอดส่องดูแลปัญหาขยะที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของ
เขาใหญ่ และอำเภอปากช่อง โดยเฉพาะการอนุญาติให้จัดงานในพื้นที่ ที่มีเขตติดต่อกับอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ (พื้นที่มรดกโลก) ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสัตว์ป่า และธรรมชาติ

 

 

 

 

ทั้งนี้ทาง ชมรมฮักเขาใหญ่ และสมาคมท่องเที่ยวเขาใหญ่ ชมรมผู้ประกอบการร้านอาหารอำเภอปากช่อง เครือข่ายเยาวชนนักเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อม ภาคีอนุรักษ์ธรรมชาติ มีความคาดหวังเป็นอย่างยิ่ง ว่าสิ่งที่ได้เรียกร้องจะทำให้ปัญหาขยะ และสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่เขาใหญ่และอำเภอปากช่อง จะมีแนวโนมที่ดี

เนื่องจากเรามีความตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นอย่างมาก เพราะหลายกลุ่มละเลยขาดการเอาใจใส่ในเรื่องขยะและสิ่งแวดล้อม ทั้งที่เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องของส่วนรวม ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของเขาใหญ่ และอำเภอปากช่อง โดยปัญหาดังกล่าว ยังส่งผลกระทบต่อแนวทาง “การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” และไม่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการส่งเสริมการท่องเที่ยว รวมถึงลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน

ด้วยความปราถนาดีจาก ชมรมฮักเขาใหญ่ และสมาคมท่องเที่ยวเขาใหญ่ ชมรมผู้ประกอบการร้านอาหารอำเภอปากช่อง เครือข่ายเยาวชนนักเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อม ภาคีอนุรักษ์ธรรมชาติ.

 

 

 

ประสิทธิ์ วนะชกิจ ผู้สื่อข่าว จ.นครราชสีมา รายงาน