ตำรวจภาค 3 ทลายแหล่งจำหน่ายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ ได้ของกลางจำนวนมาก

วันที่ 31 มีนาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่หน้ากองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 อ.เมือง จ.นครราชสีมา พล.ต.ต.ฐากูร นัทธีศรี รองผู้บัญชาการตํารวจภูธรภาค 3 พร้อมด้วย พล.ต.ต.สายเพชร ศรีสังข์ รอง ผบช.ภ. 3 , พล.ต.ต.ชูสวัสดิ์ จันทร์โรจนกิจ ผบก.สส.ภ.3 , พล.ต.ต.อิทธิพล นาคคำ ผบก.ภ.นครราชสีมา , พ.ต.อ.สุคนธ์ ศรีอรุณ รอง ผบก.สส.ภ.3 สั่งการให้ พ.ต.อ.ยุทธพงษ์ รอดนวล ผกก.สส.1 บก.สส.ภ.3 และ พ.ต.อ.เทียนชัย เลิศมณีทวีทรัพย์ ผกก.ปพ.บก.สส.ภ.3 พร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 3 ร่วมกับ กก.ปพ.บก.สส.ภ.3 แถลงผลการทลายแหล่งจำหน่ายสินค้าละเมิดลิขสิทธ์ ภายใต้ ยุทธการบุกทลายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์

 

 

 

 

โดยได้นำกำลังเข้าตรวจค้นตามหมายค้นศาลจังหวัดสุรินทร์ 4 จุด จับกุมผู้ต้องหาได้ 4 ราย ในพื้นที่ตลาดช่องจอม อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ประกอบด้วย Mr.CHEN (สงวนนามสกุล) อายุ 52 ปี สัญชาติจีน , นาง LYDA (สงวนนามสกุล) อายุ 34 ปี สัญชาติกัมพูชา , นายกฤษณ์หรือหนุ่ม (สงวนนามสกุล) อายุ 48 ปี และน.ส.ฮอง (สงวนนามสกุล)อายุ 56 ปี พร้อมของกลางที่ตรวจยึดได้หลายพันรายการ มูลค่ากว่า 20 ล้านบาท อาทิ พัดลมไฟฟ้าขนาดเล็ก โคมไฟฟ้า กาต้มน้ำ กางเกงเด็กเล็กภาพลายการ์ตูน Disney วิทยุทรานซิสเตอร์ แบบพกพา เครื่องคิดเลข ธูปไล่ยุง ชุดเครื่องนอนปิกนิค สัญลักษณ์ หลุยส์วิตตอง ,เซลซี , รูปโดราเรม่อน , ชาแนล ,ลายคิดตี้, กุชชี่ , หลุยส์ วิตตอง ,สโมสรทีมฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด,รูปสไปเดอร์แมน และ รูปการ์ตูนต่างๆ เป็นต้น รวมจำนวน 1,160 ผืน ธูปไล่ยุงกว่า 4,000 กระสอบ ยากันยุง กาวดักแมลงวัน และยากันยุงชนิดต่างๆอีกหลายรายการ โดยเฉพาะธูปไล่ยุงที่นำเข้าจากเพื่อนบ้านชายแดนมีสารอันตรายเสี่งถึงเสียชีวิตได้ คือเป็นสารเคมีกำจัดแมลงกลุ่มไพรีทรอยด์ จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ไม่ได้รับการรับรองจาก อย.

 

 

 

ทั้งนี้ จากการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจเชื่อว่าผู้ต้องหาทั้ง 4 รายได้ลักลอบจำหน่ายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ และสินค้าอัตรายมาแล้วหลายครั้งก่อนำตัวผู้ต้อหาทั้ง 4 ราบ ส่งดำเนินคดีในข้อหา ร่วมกันมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าเลียนแบบเครื่องหมายการค้าฯ มีไว้เพื่อจำหน่าย ซึ่งผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมฯ และอยู่ระหว่างการขยายผลจับกุมดำเนินคดี ในความผิด ครอบครองวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 และยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 โดยแหล่งใหญ่อยู่ในพื้นที่ อ.กาบเชิงฯ ส่วน จ.นครราชสีมาส่วนใหญ่เป็นรายย่อย ซึ่งอยู่ระหว่างขยายผลหากลุ่มนายทุน ที่เกี่ยวข้องในการกระทำผิดครั้งนี้ต่อไป.

 

 

 

ภาพ/ข่าว อภิรักษ์ ศรีอัศวิน ผู้สื่อข่าวภูมิภาคประจำ จ.นครราชสีมา