วันที่ 6 ก.พ. 2567 นายปรีชา นวลน้อย รองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง เป็นประธานในพิธีบวงสรวงพระยาทุกขราษฎร์ (ช่วย) ณ บริเวณอนุสาวรีย์พระยาทุกขราษฎร์ (ช่วย) โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ประชาชน เข้าร่วมพิธี ซึ่งในพิธีบวงสรวงประกอบด้วยการหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ที่หน้าอนุสาวรีย์พระยาทุกขราษฎร์ (ช่วย) ถวายพวงมาลัย โปรยดอกไม้ ซึ่งมีโหรหลวงทำพิธีบวงสรวง เสร็จนั้น มีพิธีไหว้ครูมีการร่ายรำในรูปแบบแม่ไม้มวยไทย อนุสาวรีย์พระยาทุกขราษฎร์ (ช่วย) ประดิษฐานอยู่ที่สามแยกท่ามิหรำ ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุงตามประวัติกล่าวว่าพระยาทุกขราษฎร์ เดิมเป็นพระ ชื่อพระมหาช่วย จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าลิไลยก์ ในรัชกาลที่ 1 ซึ่งขณะนั้นเกิดสงคราม 9 ทัพ พระมหาช่วยได้ช่วยพระยาพัทลุงนำชาวบ้านเข้าต่อต้านกองทัพพม่าจนแตกพ่าย ต่อมาจึงลาสิกขาบทแล้วได้ รับการโปรดเกล้าฯให้เป็นพระยาทุกขราษฎร์ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยทำราชการเมืองพัทลุง มีตำแหน่ง “พระยา” เทียบเท่า เจ้าเมือง ตามความเชื่อพระยาทุกขราษฎร์ (ช่วย) เมื่ออายุครบ 20 ปี ได้อุปสมบทที่วัดเขาอ้อ วัดที่มีชื่อเสียงด้านไสยศาสตร์เป็นที่นิยมของชาวเมืองต่างส่งบุตรหลานเข้าเรียนที่วัดนี้เป็นประจำ เชื่อกันว่า พระมหาช่วย ได้ศึกษาด้านไสยศาสตร์กับพระอาจารย์จอมทอง ที่วัดเขาอ้อ ณ ที่จำพรรษาที่เขาอ้อ ท่านได้ศึกษาวิชาไสยศาสตร์อย่างจริงจัง สามารถปฏิบัติได้จนเป็นที่ยอมรับของพระอาจารย์และบรรดาศิษย์ร่วมสำนัก ประมาณ ปี พ.ศ.2315 เมืองพัทลุงย้ายที่ตั้งเมืองจากเขาชัยบุรี ไปตั้งใหม่ที่ตำบลลำปำ พระมหาช่วย ได้รับนิมนต์มาเป็นสมภารที่วัดป่าลิไลยก์ ตำบลลำปำ ปัจุบันอยู่ที่ตำบลลำปำ อำเภอเมืองพัทลุงในสมัยรัชกาลที่ 1 พม่าบุกเข้าเมืองนครศรีธรรมราช พระมหาช่วย ชักชวนชาวเมืองพัทลุงช่วยเมืองนครศรีธรรมราช ต่อสู้ข้าศึก ทำตะกรุดและผ้าประเจียดมงคลแจกจ่ายเป็นอันมาก รวมกันได้สัก 1,000 เศษ กองทัพพม่ามาปะทะทัพไทยที่ตั้งอยู่ ณ เมืองไชยา พม่ายังไม่ทันตั้งค่าย ไทยก็ยกเข้าล้อมพม่าไว้ เมื่อเสร็จศึกพม่าแล้วพระมหาช่วยลาสิกขาบทออกรับราชการ กรมพระราชวังบวรฯ ทรงให้เป็นพระยาทุกขราษฎร์ ตำแหน่งในกรมการเมืองพัทลุง