สาธารณสุขจังหวัดตรัง เตือนประชาชน ระมัดระวังอาการป่วยโรคทางเดินอาหาร

วันที่  7 ก.พ. 2567  นพ.สินชัย รองเดช นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตรัง พร้อมด้วย นพ.ชรนันท์ ถิ่นนัยธร รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตรัง และนายธวัชชัย ล้วนแก้ว หัวหน้ากลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง แถลงพบผู้ป่วยติดเชื้อโนโรไวรัสหรือโรคติดเชื้อทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นโรคติดต่อจากคนสู่คน ผ่านทางทางเดินอาหาร โดยรับเชื้อจาก น้ำ และ อาหาร ละอองฝอย เช่น ละอองฝอยอาเจียน ละอองฝอยของน้าในส้วม ขณะราดน้า หรือ กดชักโครก สิ่งของ จำนวนไวรัส 1 – 10 ตัว สามารถก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษได้ปริมาณอุจจาระ 1 กรัม อาจมีไวรัสได้มากกว่า 1 พันล้านตัว(1) ระยะฟักตัว : 10-50 ชั่วโมง โดยส่วนใหญ่ 24-48 ชั่วโมง ระยะติดต่อ : ตั้งแต่เริ่มมีอาการ จนถึง 48 ชั่วโมงหลังหยุดถ่าย อาจพบในอุจจาระของผู้ป่วยได้นานถึง 4 สัปดาห์หลังติดเชื้อน้าดื่มที่ปนเปื้อน หอยนางรม หอยทะเล(shellfish) ชีส ผัก ผลไม้ เช่น raspberry ในอุณหภูมิเยือกแข็ง เชื้ออยู่ได้นานหลายปี ในสภาพแวดล้อมแห้งทั่วๆไป เช่น พื้นผิวอุปกรณ์ต่างๆ พรม เครื่องนุ่งห่ม เชื้ออยู่ได้นานถึง 12 วัน เชื้อสามารถมีชีวิตอยู่ได้ในสภาพที่เป็นกรดโนโรไวรัสรักษาอย่างไร ส่วนใหญ่หายได้เอง รักษาตามอาการ ให้สารน้าเพื่อทดแทนการสูญเสียน้ำจากการถ่ายและอาเจียน การควบคุมและป้องกันโรค การป้องกันการปนเปื้อนของอาหารและน้ำอาหาร รับประทานอาหารปรุงสุก โดยเฉพาะอาหารทะเล ประเภทหอย ล้างผักและผลไม้โดยปล่อยให้น้าไหลผ่าน ถ้าผู้ปรุงอาหารติดเชื้อ ให้พักงาน 48 – 72 ชั่วโมง แหล่งน้ำดื่ม หรือแหล่งน้ำสาธารณะ เติมคลอรีน 10 ppm หรือ 10 mg/litre ทิ้งไว้นานกว่า 30 นาที การควบคุมและป้องกันโรค การป้องกันการระบาดระหว่างคนสู่คน ล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อยๆ พนักงานทาความสะอาด สวมหน้ากากป้องกันขณะสัมผัสสิ่งของผู้ป่วย พื้นที่ที่มีฝุ่นละอองหรือสิ่งสกปรก ทาความสะอาดด้วยน้ำผสมน้ำยาฟอกขาวให้ได้ความเข้มข้นร้อยละ 10 หากเกิดเหตุการณ์ระบาดในที่พักตากอากาศ หรือเรือสาราญ ควรปิดสถานที่เพื่อทาความสะอาด ทำความสะอาดพื้นผิวที่ปนเปื้อนสิ่งคัดหลั่งจากผู้ป่วย หลังถ่ายหรืออาเจียนการทาลายเชื้อโนโรไวรัส ต้องใช้แอกอฮอล์ 85% ล้างนาน 30 วินาที น้าผสมคลอรีน ความเข้มข้น 1000-5000 ppm (5-25 ช้อนโต๊ะ ต่อน้า 20 ลิตร) ความร้อน 100 องศาเซลเซียส แอลกอฮอล์ล้างมือ (เข้มข้น 60-70%) ไม่สามารถทาลายเชื้อไวรัสได้ กระบวนการพาสเจอร์ไรซ์ (60 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที) ไม่สามารถทาลายเชื้อไวรัสได้

 

ทั้งนี้มีรายงานว่าที่จังหวัดตรัง พบผู้ป่วยติดเชื้อโนโรไวรัส หรืออาหารเป็นพิษ ที่สถานศึกษา จำนวน 2 สถานศึกษา ซึ่งกลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา ได้รับรายงานว่าในเด็กนักเรียนในอำเภอกันตัง มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน จำนวน 21 ตน มารักษาที่โรงพยาบาลกันตัง หลังจากได้รับรายงานจึงลงพื้นที่เก็บตัวอย่างเพื่อนำมาวิเคราะห์หาเชื้อที่ทำให้เกิดอาหารเป็นพิษนั้นมาจากเชื้ออะไร จาการสังเกตพบว่าจะมีอาการอาเจียนเป็นหลักและอาการท้องเสียเป็นรอง คาดว่าสาเหตุน่าจะมาจากเชื้อโนโรไวรัส และในส่วนของนักเรียนในอำเภอย่านตาขาวพบเด็กนักเรียนป่วย 21 คน มีอากรอาเจียนและท้องเสียเช่นกัน โดยตั้งข้อสันนิษฐานว่าจะติดเชื้อเชื้อโนโรไวรัส แต่ระยะฟักตัวนานกว่า ซึ่งอาจจะติดเชื้อแบคทีเรียก็ได้ ทางเจ้าหน้าที่จึงได้เก็บตัวอย่างมาวิเคราะห์หาสาเหตุ ซึ่งยังอยู่ในระหว่างการตรวจหาเชื้อ อย่างไรก็ตามประชาชนควรปรุงอาหารให้สุก อย่ารับประทานอาหารสุกๆดิบๆ หรือตามแนวทาง กินร้อนช้อนกลาง ล้างมือก่อนรับประทานอาหารให้สะอาดก่อน เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคทางเดินอาหาร และช่วงนี้ใกล้ช่วงเทศกาลตรุษจีน จะมีประชาชนรวมกลุ่มกันและรับประทานอาหารร่วมกันในครอบครัวและญาติที่เดินทางมาจากจังหวัดต่างๆ ผู้ที่ทำอาหารควรใส่ใจมากขึ้นไม่ทำอาหารสุกๆดิบมารับประทาน หรือหากทำอาหารไว้นานแล้วควรนำมาอุ่นให้ร้อนก่อน นอกเหนือจากอาหารแล้ว ประเภทน้ำดื่มและน้ำแข็งก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคทางเดินอาหารเช่นกัน

 

อย่างไรก็ตามหากประชาชนติดเชื้อโรคทางเดินอาหารมีอาการอาเจียนและท้องเสียขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทันที เพื่อที่เจ้าหน้าที่จากหน่วยควบคุมโรคจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลและเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง จะได้เข้าช่วยเหลือได้ในทันทีรวมถึงการเก็บตัวอย่างมาวิเคราะห์เพื่อความถูกต้องและยืนยันว่าเป็นเชื้อชนิดใด

ถนอมศักดิ์  หนูนุ่ม / จ.ตรัง