พิษเอลนีโญ ทำแล้งเร็วต่อเนื่อง ส่อเค้าวิกฤตน้ำ ในขณะที่ผู้ว่าเมืองช้าง เตรียมพร้อมรับมือ

วันที่ 22 มี.ค.2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้หลายอำเภอส่อเค้าวิกฤติ น้ำในคลองและฝายกั้นน้ำบางพื้นที่ส่อเค้าแห้งขอด ผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญเริ่มเกิดขึ้นแล้วและมาเร็วกว่าทุกๆปีที่ผ่านมา

ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่สำรวจในพื้นที่ อ.สังขะ พบฝายกั้นน้ำขนาดกลางที่หมู่บ้านกล้วย หมู่ที่ 10 ตำบลทับทัน อ.สังขะ จ.สุรินทร์ มีระดับน้ำลดลงเป็นอย่างมาก นายธนจักร ธนันคุณธร นายก อบต.ทับทัน เปิดเเผยว่า น้ำแต่ละปีจะมีน้ำขังอยู่ในฝายและได้พี่นำน้ำในฝายไปผลิตน้ำประปาให้พี่น้องประชาชนได้ใช้กัน แต่ปีนี้สภาพฝายตื้นเขินมาก ทำให้น้ำที่กักเก็บเริ่มลดลงอย่างเห็นได้ชัด มีนกเป็ดน้ำเป็นจำนวนมากลงกินปลาอยู่ภายในฝายบ้านกล้วย

 

 

 

 

 

ขณะที่ฝายบ้านเกาะแก้วพัฒนา อ.สำโรงทาบ พบว่าปริมาณน้ำลดลงอย่างเห็นได้ชัดเช่นกันมีขอนไม้โคนต้นไม้ใต้ท้องน้ำ โผล่ให้เห็นจำนวนมาก และพบเนินดินโผล่ขึ้นมาให้เห็นชัดขึ้นทุกวัน ส่วนที่ฝายหมู่บ้านหนองพญา ตำบลประดู่ น้ำที่ทางโครงการชลประทานขุดเอาไว้ กลับไม่มีน้ำเหลือออยู่ พบเพียงทุ่งหญ้าขึ้นมาลอยอยู่ให้เห็นในสภาพที่ตื้นเขิน ในส่วนของตำบลเสม็จ อบต.ได้ทำการสูบน้ำจากสระหนองแคนตำบลเสม็จ อ.สำโรงทาบจ.สุรินทร์ ที่ปริมาณน้ำลดลง ไปยังหมู่บ้านที่ขาดน้ำอุปโภคบริโภค เพื่อผลิตน้ำประปาให้ชาวบ้านได้อุปโภคบริโภคใช้ในครัวเรือน

 

และที่ อ.ศีขรภูมิ ชาวบ้านในเขตพื้น 3 ตำบลที่ได้รับความเดือดร้อนที่บ้านตะกุยตำบลตรมไพรพันษี ต.จารพัตและ ต.ระแงง ได้รับผลกระทบจากพี่น้องประชาชนในเขตพื้นที่ได้พากันสูบน้ำเข้าทำนาปรังจนน้ำไม่มีจะเหลือ ซึ่งแต่ละปีน้ำจะไม่มีขาดถึงขนาดนี้ แต่ปีนี้ยอมรับว่าแห้งขอดอย่างมาก ผู้ใหญ่บ้านวอนให้บรรดาพี่น้องประชาชนที่ทำนาปรังขอให้หยุดกันบ้าง เพราะในชุมชนเดือดร้อนกันไปทั่ว น้ำแห้งขอดไม่มีน้ำให้วัวให้ควายกิน พันธ์ปลาที่ปล่อยไว้จำนวนนับหมื่นตัวตายกันหมดสาเหตุน้ำแห้งขอด ประกอบกับน้ำที่ชาวบ้านเคยตักไปไว้ใช้อุปโภคบริโภคกลับแห้งขอดไปหมด พร้อมกับวอนชลประทาน ให้ขุดลอกให้อีก เพราะสภาพตื้นเขินเร็วมาก

 

ด้าน นายพิจิตร บุญทัน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยว่า ในช่วงนี้ถือว่าเป็นช่วงสำคัญในหน้าแล้งอากาศก็ร้อนเรื่องของภัยแล้งก็จะตามมา ไฟไหม้ก็ดีน้ำอุปโภคบริโภคก็ดี หรือน้ำเพื่อการเกษตร ก็ขอเรียนอย่างนี้ว่า จริงๆแล้วเรามีแผนแต่ก่อนที่ฝนจะหมดไปในเดือนพฤศจิกา-ธันวาฯเราก็พูดคุยกันมาก่อนแล้วโดยเฉพาะเรื่องการวางแผนเรื่องการเกษตรส่วนพี่น้องประชาชนในพื้นที่ก็อยากจะทำนาเหมือนที่เคยทำหรือทำนานอกฤดูก็ทำให้เกิดปัญหาในบางส่วนอย่างไรก็ตามเราก็พยายามช่วยเหลือพี่น้องประชาชนโดยการนำแหล่งน้ำใกล้เคียงมาช่วยเหลือ

 

 

ส่วนเรื่องที่ 1 คือเรื่องน้ำไว้อุปโภคบริโภคเราก็ได้ติดตามสำรวจพื้นที่ตลอดเวลาโดยเฉพาะอย่างยิ่งหมู่บ้านที่แล้งซ้ำซากเราก็มีการสำรวจจาการสำรวจติดตามนะครับเราก็ทำอยู่ 2 มาตรการที่สำคัญเรื่องของมาตรการแรกคือเรื่องของการเปิดทางน้ำเราไปที่ดอนแรตอ.รัตนบุรีในส่วนนี้เราก็เปิดทางน้ำให้ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนบางพื้นที่ไม่สามารถเปิดทางน้ำได้โดยระยะห่างมากเราก็ใช้วิธีสูบระยะไกลที่หนองอียออ.สนมที่กาบเชิงบ้านโนนทองตำบลด่านหนองสมบูรณ์บางที่ก็จอมพระส่วนนี้เราก็ไปดำเนินการทั้งหมดที่ทยอยเข้ามาครับคือการรายงานเข้ามาเพื่อให้เราได้รับทราบ

 

ผวจ.สุรินทร์ กล่าวอีกว่า เรื่องที่ 2 คือเรื่องไฟไหม้ คนผ่านไปคนสูบบุหรี่และทิ้งก้นบุหรี่ลงข้างทางบ้าง เรื่องไฟฟ้าการใช้ไฟฟ้าอาคารบ้านเรือนหรือไฟไหม้ตามข้างถนนด้วย เพราะฉะนั้นต้องระมัดระวังโดยเฉพาะอย่างยิ่งนะครับพี่น้องไปทำมาหากินในพื้นที่ป่าต้องให้ระมัดระวังก็อยากจะขอความร่วมมือกับทุกคนทุกท่านนะครับว่าเราต้องร่วมด้วยช่วยกันลำพัง ตนก็ไม่สามารถดำเนินการได้โดยเฉพาะฝ่ายรัฐฝ่ายเดียวได้ต้องร่วมด้วยช่วยกันทุกฝ่ายก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเรื่องของภัยแล้งจังหวัดสุรินทร์คงไม่ลุกลามบานปลายเราป้องกันเต็มที่เรามีแผนการดำเนินการอยู่แล้ว ผวจ.สุรินทร์กล่าว.

 

 

 

 

นพรัตน์  กิ่งแก้ว  ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.สุรินทร์ รายงาน