เพชรบุรีชาวบ้านแห่งานประเพณีส่งท้ายสงกรานต์ขึ้นถ้ำพระนอนศักดิ์สิทธิ์อายุกว่า400ปี

นที่16 เมษายน 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บ้านนายาง ต.นายาง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี นายประชิต เจริญฉ่ำ อดีตนายอำเภอ น.ส.คนึง ไข่ลือนาม วัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี นายวรารัตน์ กิ่งทอง ปลัดอำเภอชะอำ นายวัชรัต วงวาทิน ประธานกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านายาง ผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้านตำบลนายางหลายสิบคน ร่วมกันจัดขบวนแห่กลองยาวเดินทางไปยัง ศาลเต็งรังประจำหมู่บ้านนายาง พร้อมนำอาหารค้าวหวานใส่กระบอกไว้ไผ่จำนวน 3กระบอกรากไปตามขบวนแห่เป็นเครื่องเซ่น เพื่อไปกราบไหว้ขอขมาลาโทษ ต่อเจ้าที่เจ้าทาง เทพาอารักษ์ เจ้าป่าเจ้าเขา เจ้ากรรมนายประจำหมู่บ้านนายาง ที่ตลอดปีชาวบ้านทำไม่ดีไม่ควรไว้ ก่อนรำรอบศาลเต็งรังจำนวน 3รอบ และร่วมกันร้องเพลงโนเน

ก่อนชาวบ้านยกขบวนแห่ไปที่ถ้ำพระนอนเขานาขวาง ม.2 บ้านนายาง ต.นายาง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ที่ตั่งอยู่บนเขานาขวาง ไปสักการะปิดทอง ขอพรพระนอนพระพุทธไสยานส์ศักดิ์สิทธ์ ยาว7.50เมตร อายุกว่า400 ปีสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาที่ประดิษฐานภายในถ้ำที่ชาวบ้านนับถือมายาวนาน จากนั้นยกขบวนแห่กลับมาที่โรงเรียนบ้านนายาง ที่เป็นที่ตั้งประดิษฐานหลวงพ่อดำศักดิ์สิทธ์ พระประธานที่ตั้งอยู่ภายในอุโบสถ์สมัยกรุงศรีอยุธยา ชาวบ้านได้มาร่วมกันปิดทอง กราบขอพรปีใหม่ พร้อมกันนี้ได้จัดกิจกรรมสรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในชุมชน จำนวน20คน เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชาวบ้านและลูกๆหลานๆ ซึ่งกิจกรรมนี้ไม่ได้จัดมากว่า4ปีแล้ว เนื่องจากติดสถานการณ์โควิดระบาด ซึ่งกิจกรรมนี้ชาวบ้านนายางนับร้อยคนได้ร่วมสืบทอดกันมาทุกปี เพื่อความสามัคคีของคนในหมู่บ้าน

น.ส.คนึง ไข่ลือนาม วัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี กล่าวว่า วันนี้ชาวบ้านได้จัดงานประเพณีส่งท้ายสงกรานต์ ตนจึงมีโอกาสได้มาร่วมงานของบ้านนายาง ปีนี้มีความสำคัญมากสำหรับงานเทศกาลสงกรานต์ของประเทศไทยปีนี้ ได้มีการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดก ทางภูมิปัญญาวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ เพราะฉะนั้นคนไทยทุกคนจึงควรส่งเสริม สืบสานในงานประเพณีสงกรานต์ของชุมชนนั้นๆไว้ ให้คงอยู่ ไม่ว่าเรื่องการไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ศาลเต็งรังประจำหมู่บ้าน พรพระนอนพระพุทธไสยานส์ศักดิ์สิทธ์ และกิจกรรมสรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวขอพรผู้สูงอายุ เพื่อคงความเป็นมรดกทางภูมิปัญญาวัฒนธรรมของไทยสืบไป
บรรณรต เจริญกิจสัมพันธ์ จ.เพชรบุรี