กรมทรัพยากรธรณีลงพื้นที่เกาะสมุยเตรียมติดตั้งเครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหว

วันที่ 5 มิ.ย. 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีเกิดเหตุแผ่นดินไหวติดต่อกัน 2 ครั้ง ในอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2567 เวลา 08.24 น. ขนาดความแรง 2.4 ที่ระดับความลึก 4 กิโลเมตร ที่ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี และวันที่ 1 มิถุนายน 2567 เวลา 08.24 น. เกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 2.2 ที่ความลึก 2 กิโลเมตร ที่ตำบลบ่อผุด อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ห่างจากจุดแรกประมาณ 20 กิโลเมตร และห่างจากรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ประมาณ 80 กิโลเมตร  ล่าสุด ที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย) ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย นายฐิติพันธ์ จูจันทร์โชติ รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี นายทินกร ทาทอง ผู้ตรวจราชการกรมทรัพยากรธรณี นายสมศักดิ์ วัฒนปฤดา ผู้อำนวยการกองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม ดร.วีระชาติ วิเวกวิน นักธรณีวิทยาชำนาญการพิเศษ นางสาวอรอุมา สุ่มมาตย์ ผู้อำนวยการทรัพยากรธรณี เขต 4 ดร.กัมปนาท กลิ่นเสาวคนธ์ นายอำเภอเกาะสมุย นายสุธรรม สามทอง รองนายกเทศมนตรีนครเกาะสมุย นายพูนชิด คำลุน รักษาราชการแทนหัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุราษฎร์ธานี สาขาเกาะสมุย ได้เชิญสื่อมวลชนมาร่วมรับฟังบรรยาย เปิดผยถึงสาเหตุของการเกิดครั้งนี้ เป็นผลมาจากการเลื่อนตัวของรอยแตกในหินแกรนิตที่ถูกกระตุ้นโดยพลังงานความร้อนใต้พิภพ รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กล่าวในที่ประชุมว่า จากความห่วงใยของ พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้สั่งการให้กรมทรัพยากรธรณี เร่งติดตั้งเครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหว สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยวที่อยู่บนเกาะสมุย “วันนี้กรมทรัพยากรธรณี โดยกองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมได้นำเครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหวที่เรียกว่า เครื่องมือวัดความสั่นสะเทือนพื้นดินช่วงคลื่นสั้น (Short period Seismograph) มาติดตั้งที่บริเวณพื้นที่เกาะสมุย เพื่อติดตามสถานการณ์แผ่นดินไหว เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับพี่น้องประชาชน และนักท่องเที่ยว

ด้าน ดร.วีระชาติ วิเวกวิน ผู้อำนวยการส่วนรอยเลื่อนมีพลังและแผ่นดินไหว กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ขณะนี้กรมทรัพยากรธรณี ได้ติดตั้งเครื่องมือดังกล่าว รวมทั้งสิ้น 58 สถานี ครอบคลุม 16 กลุ่มรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย และได้มีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลการตรวจวัดแผ่นดินไหวแบบ Real time กับระบบประมวลผลกลางของกรมอุตุนิยมวิทยา เพื่อศึกษาพฤติกรรมกรรมของรอยเลื่อนมีพลังเมื่อเกิดแผ่นดินไหว โดยการตรวจหาตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหว ขนาดแผ่นดินไหว และระดับความลึกแผ่นดินไหว ทำให้สามารถตรวจวัดแผ่นดินไหวได้อย่างรวดเร็ว และมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น และมีข้อมูลตำแหน่งการกระจายตัวของแผ่นดินไหวตลอดจนความถี่ของการเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวสำหรับนำไปใช้ในการจัดทำแผนที่ภัยพิบัติแผ่นดินไหวต่อไป อย่างไรก็ตาม กรมทรัพยากรธรณี โดยกองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม จะติดตามประเมินสถานการณ์แผ่นดินไหวอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง พร้อมให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวขณะเกิดแผ่นดินไหว ซึ่ง นายฐิติพันธ์ จูจันทร์โชติ รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ให้สัมภาษณ์ กับผู้สื่อข่าวว่า จากรายงานแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 30 พ.ค.และวันที่ 1 มิ.ย.ที่ผ่านมา เป็นเหตุการณ์เกิดความร้อนใต้เปลือกโลก ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนขึ้นมีรายงานจากหน่วยงานของรัฐ แต่ว่าเป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็ก ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งปลูกสร้างและความเป็นอยู่ของประชาชน ยืนยันว่าไม่เป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวรุ่นแรงที่เกิดอันตรายให้กับพี่น้องประชาชนได้ ด้วยความห่วงใยจากคณะรัฐมนตรีกระทรวงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และท่านปลัดกระทรวง ท่านก็ได้สั่งการ ผ่านท่านอธิบดีกรมธรณีว่า ให้คณะเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่และทำความมั่นใจให้กับประชาชน นำเครื่องมือแผ่นดินไหวมาติดตั้งอย่างเร่งด่วน และให้ติดตามสถานการณ์อยู่ตลอดเวลาจนกว่าเหตุการ์ณจะสงบ เพื่อสร้างความมั่นในกับประชาชนในพื้นที่ต่อไป รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ยังกล่าวอีกว่า ในพื่นที่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฏร์ธานี โอกาสที่จะเกิดสินามิ ค่อนข้างยาก เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีรอยเลี่อนที่มีพลัง คือการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกที่มีแนวดิ่ง พื้นที่อ่าวไทยไม่มีความเสี่ยง โอกาสที่จะเกิดสึนามิรุ่นแรงมีน้อยมาก แต่อย่างไรก็ตาม กรมวิทยากรธรธี ก็เฝ้าติดตามตลอดเวลา และเมื่อสักครู่ก็ได้ประสานงานกับท่านนายอำเภอ กับทาง ปภ. เพื่อเตรียมความพร้อมและเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับพี่น้องประชาชนรับสถานการณ์อย่างปลอดภัย เหตุการณ์แผ่นดินไหว เป็นเรื่องที่คาดการ ล่วงหน้าอยากลำบาก เพราะฉะนั้น การรู้สถานการณ์อย่างรวดเร็วและเตรียมความพร้อมในเรื่องของการรองรับสถานการ์ณ และการซักซ้อมร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ ไม่ว่าการซ้อมย้ายที่ปลอดภัยในเรื่องของการเตรียมความพร้อมของสุขภาพประชา ด้านนายสุธรรม สามทอง รองนายกเทศมนตรีนครเกาะสมุย เปิดเผยให้สัมภาษณ์ กับผู้สื่อข่าวว่า “ ประเด็นนี้ถ้าเราไม่เคลียร์ ผมเชื่อว่ามีผลกระทบ เพราะตามที่ผมได้พูดในที่ประชุม ตอนที่แถลงข่าวแล้วว่า สิ่งหนึ่งที่นักท่องเที่ยวเลือกที่จะมาใช้ชีวิตอยู่ในเกาะสมุย เลือกที่จะมาเที่ยวสมุย เลือกที่จะเอาสมุยเป็นบ้านหลังที่สอง ประการแรกเลยเค้ามั่นใจว่า สมุยไม่เกิดแผ่นดินไหวแน่นอน แต่พอเกิดเหตุ เมื่อวันที่ 27 วันที่ 30 พ.ค.และ วันที่ 1มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเหตุการณ์นี้ถ้าเราไม่เคลียร์โดยที่ผู้ชำนาญการ ตนเชื่อว่ามีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวแน่นอน” แต่วันนี้ผมรู้สึกสบายใจ สิ่งที่ผมได้ขอให้กรมธรณีวิทยาลงมา พาผู้ที่มีความชำนาญการ มาเพื่อยืนยันในพื้นที่ เรื่องที่ทราบถึงรัฐมนตรีว่าการทรวงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ท่านได้กำชับเลยว่าขอให้ได้มาด้วยตามที่ท้องถิ่นขอร้องไป ก็ถือแถลงข่าวตามที่ได้แถลงในห้องประชุมในวันนี้ ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้ 1.โอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหวในเกาะสมุยแทบจะไม่มีเลย (ใช้คำว่าแถบจะไม่มีเลย) 2.สิ่งที่ประชาชน คิดว่าการเจาะบ่อบาดาลในเมืองท่องเที่ยว เพราะวันนี้ในเกาะสมุยค่อนข้างจะมีปัญหาในการขาดแคลนน้ำใช้ของเกาะสมุยมีปัญหาอย่างรุนแรง ซึ่งการเจาะบ่อบาดาลไม่มีผลกระทบเพราะชั้นลึกที่แข็งที่สุดใต้พื้นดินที่ประมาณ 3 กิโล เรื่องของการขุดเจาะน้ำมันในทะเล ก็ไม่มีปัญหาเลย

 

นายสุธรรม กล่าวต่ออีกว่า เพราะฉะนั้นเรื่องของการแผ่นดินไหวขนาด 2.4ริเตอร์นั้น อาจจะเรียนส่วนหนึ่งว่าเป็นเพียงรอยเลื่อนของใต้พิภพ กรณีเหมือนนำน้ำมาสัมผัสกันประมาณนี้ซึ่งตามที่นักวิชาการได้อธบายไปแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรที่มาการันตี ที่มาพบปะกับพวกเราเหล่านี้นั้น ท่านเป็นผู้ชำนาญการทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นขอให้ผู้สื่อข่าว ประชาสัมพันธ์ ให้พี่น้องประชาชนที่ฟังอยู่ทางบ้าน สบายใจได้ ว่าผลกระทบต่อการท่องเที่ยว มีแน่ ถ้าไม่มีวันนี้ แต่วันนี้เราเคลียร์ เราสบายใจแล้ว ว่าโอกาสเกิดขึ้นนั้นน้อยมาก เพราะฉะนั้นประเด็นสำคัญก็คือ สมุยยังเป็นเมืองที่มีความปลอดภัยในเรื่องแผ่นดินไหวสูงสุดในประเทศไทยอยู่ นายสุธรรม รองนายกเทศมนตรีนครเกาสมุยกล่าวในที่สุด ขณะที่ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับเครื่องวัดแรงสั่นสะเทือนนั้น ทางกรมทรัพยากรธรณี อยู่ระหว่า สำรวจพื้นที่ว่าติดตั้งได้ในบริเวณไหน และคาดว่าต้องติดตั้งบนภูเขาสูง เนื่องจากหากติดตั้งในพื้นที่ต่ำหรือในชุมชน จะมีผลกระทบในเรื่องของแรงสั่นสะเทือนจากเครื่องจักร และรถบรรทุกหนัก ที่มีการขับเคลื่อน จะทำให้เครื่องวัดเเรงสั่นสะเทือนจับสัญญาณ จึงต้องหลีกเหลี่ยงหาจุดติดตั้งในพื้นที่สูงและที่เหมาะสม ซึ่งคาดว่าจะติดตั้งในพื้นที่ยอดเขาป้อม ในตำบลหน้าเมือง.


เชิดชาย ทวีเมือง / จ.สุราษฎร์ธานี