ประกาศศักดาขบวนแห่นานาชาติPhuket Peranakan Festival 2024

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา นางอัญชลี วานิช เทพบุตร กรรมการกิตติมศักดิ์ และผู้ก่อตั้งสมาคมเพอรานากันประเทศไทย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ภูเก็ต 5 สมัย นายสาโรจน์ อังคณาพิลาส นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต นายแพทย์โกศล แตงอุทัย นายกสมาคมเพอรานากันภูเก็ต และนายบุญเพิ่ม อินทนปสาธน์ นายกสมาคมการค้าส่งเสริมการจัดงานมหกรรมและเทศกาลนานาชาติไทย ร่วมสร้างประวัติศาสตร์ความอลังการในงานเทศกาล Phuket Peranakan Festival 2024 พบกับ 20 ขบวนแห่ยิ่งใหญ่ระดับรางวัล Asia Pinnacle Awards พร้อมปั้นสู่เวทีโลก ขบวนแห่ Phuket Peranakan และขบวนรำมหาชนเพอรานากันรูปแบบ Flash Mob Culture ระยะทาง 1.2 กิโลเมตรบนถนนถลาง ถ. พังงา และ ถ. ภูเก็ต ด้วยชุดการแสดงจากหลากหลายเมืองแห่งเพอรานากันทั้งไทย และคาบสมุทรมลายู และพร้อมประกาศตัวเป็นศูนย์กลางเมืองแห่งเทศกาลเพอรานากันอย่างเป็นทางการโดยมีผู้เข้าร่วมขบวนการแสดงในปีนี้กว่า 1,600 คน พื้นที่ชมสำหรับนักท่องเที่ยวกว่า 15,000 คน คาดรายได้สะพัดมูลค่ากว่า 300 ล้านบาท

 

 

ในปีนี้ ทางสมาคมเพอรานากัน, องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต และสมาคม TIEFA ได้มีดำริให้มีการยกระดับงานเทศกาลโดยมีการนำเสนอตัวส่งโครงการเพื่อชิงรางวัล Grand Pinnacle Awards – City Festival ในแขนง World Best Parade ของสมาพันธ์ผู้จัดงานเทศกาลและมหกรรมโลก (World IFEA) โดยมีการจัดเตรียมแผนการจัดงานเทศกาล Phuket Peranakan Festival 2024 ให้สอดคล้องตามแผนมาตรฐานระดับสากลทั้งระบบ logistics เมือง, การปิดถนน, สิ่งแวดล้อมและ แผนชุมชมสัมพันธ์ พร้อมกับเนื้อหา มรดกทางศิลปะวัฒนธรรม และวัฐจักรของระบบทางเศรษฐกิจเพื่อความยั่งยืน (New Eco System) ซึ่งจะมีประกาศผลอย่างเป็นทางการไม่เกินปลายเดือนสิงหาคม 2567

โดยไฮไลท์ปีนี้คือ ขบวบรำมหาชนเพอรานากัน ในรูปแบบ Flash Mob Culture บริเวณสุดยอดสถานที่ไฮไลท์ของเมืองเก่าภูเก็ต ถ.พังงา กลางสี่แยกธนาคารชาร์เตอร์ และขบวนแห่หลากหลายวัฒนธรรม จากอีก 10 เมืองเพอรานากันในคาบสมุทรมลายู แนวคิดปีนี้เป็นเรื่อง ความอุดมสมบูรณ์ (ABUNDANT) ของวิถีความเป็นอยู่ของชาวเพอรานากัน ที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายของมรดกทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมในเรื่อง City of Well-Being เพื่อเป็นการสร้างยุทธศาสตร์แห่งความยั่งยืนทางด้านศิลปะวัฒนธรรมของ ภูเก็ตเพอรานากัน โดยใช้ “เสี่ยหนา” ปิ่นโตกับข้าวประเพณีของชาวภูเก็ต และ “อ่องหลาย” สัปปะรด ผลไม้ไหว้เจ้ามงคล และยังเป็นหนึ่งในผลไม้ชุมชนเชิงเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยมีการนำเสนอผ่านขบวนแห่ที่สร้างกิจกรรมแบบ 2 ways hands on ให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาชมงาน และในวันที่ 21 และ 23 มิถุนายน 2567 จัด Workshop เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมร่วมรากของกลุ่มชาติติพันธุ์เพอรานากันให้ประชาชน และนักท่องเที่ยวได้ชมความสวยงามของวัฒนธรรมจากประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ร่วมกับชุมชนชาวเพอรานากันภูเก็ตและอีก 6 จังหวัดอันดามันและภาคใต้ และนำการแสดง Peranakan Street Perfomance Art จากนานาชาติแสดงให้ชม ณ แยกชาร์เตอร์ และใจกลางหลาดใหญ่ เมืองเก่าภูเก็ต และมีการแสดงละคร “A road to our home” Peranakan Theater Art” ที่บ้านซินหลอ ถนนดีบุก จังหวัดภูเก็ต เรียนรู้วิถีชีวิตชาวเพอรานากันภูเก็ตอีกด้วย

จิระชัย เกษมพิมลพร / จ.ภูเก็ต