จากกรณีที่พบปลาหมอคางดำระบาดใน จ.สมุทรสงคราม และระบาดไปกว่า 17 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งกรมประมงมีมาตรการกำจัดปลาหอคางดำ รวมทั้งปล่อยปลานักล่า โดยเฉพาะปลากะพงไปกินปลาหมอคางดำนั้น
ล่าสุดผู้สื่อข่าวลงพื้นที่บ่อเลี้ยงปลากะพง ในพื้นที่ ต.แพรกหนามแดง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม พบนายวัลลภ ขุนเจ๋ง อายุ 59 ปี เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งมากว่า 17 ปี ได้ปรับบ่อหันมาเลี้ยงปลากะพง โดยพาผู้สื่อข่าวไปดูลูกปลาหมอคางดำในบ่อขนาดเกือบ 200 ไร่ ที่โผลหัวมาจำนวนมาก จากนั้นได้ปล่อยน้ำลงอวนไม่ถึง 2 นาที ได้ลูกปลาหมอคางดำขนาด 1 นิ้ว รวม 18.5 กิโลกรัม นายวัลลภ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ ตนเลี้ยงกุ้ง 520 ไร่ ต่อมาปี 2554 ปลาหมอคางดำ เริ่มระบาด ตนจึงหันมาทดลองเลี้ยงปลากะพงในบ่อ 20 ไร่ก่อน ตนลงไป 5,000 ตัว แล้วปิดบ่อตาย พอครบกำหนดจับปลากะพงเหลือไม่ถึง 1,000 ตัว แต่ได้ปลาหมอคางดำ 9 ตัน ตนจึงเพิ่งรู้ว่าปล่อยปลากะพงขนาด 3 – 4 นิ้ว มันสู้กับปลาหมอคางดำไม่ไหว เพราะช่วงแรกที่ปล่อย ปลากะพงจะอ่อนเพลีย พวกแม่ปลาหมอคางดำตัวใหญ่จะรุมเข้าใส่ กัดตัวกัดหางจนมันตาย จากนั้นตนก็มาทดลองขยายเป็นบ่อ 40 ไร่ ก็เหมือนกันหมด จากนั้นก็ทดลองขุดบ่อขนาด 10 ไร่ ใหม่หมดปรับพื้นที่ตากบ่อให้แห้ง กรองน้ำเข้า พอครึ่งเดือนลูกปลาหมอคางดำเต็มไปหมด ตนจึงปล่อยปลากะพง 4 นิ้วลงไป 1,000 ตัว พอวิดบ่อได้ปลาหมอคางดำ 7 ตัน จากนั้นก็ทดลองปล่อยน้ำมีปลาหมอคางดำอยู่เต็ม แล้วปล่อยปลากะพง 7 – 8 นิ้วลงไป อีก 1,000 ตัว ช่วงแรกดีหน่อยเหมือนกับปลาหมอคางดำลดจำนวนลง แต่หลังจากนั้น 5 – 6 เดือน