จ.ตราด/เวลา 10.30 น.วันที่ 21 สิงหาคม 2567 ที่ห้องประชุมโรงเรียนเทศบาลชุมชนวิมลวิทยา นายสุรศักดิ์ ภูติภัทร นายกเทศบาลเมืองตราด และทีมบริหารสมาชิกสภาเทศบาลเมืองตราด ได้เชิญประชาชนชาวตราดกว่า 200 คนร่วมประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นถึงความต้องการในการพัฒนาเมืองตราด โดยเฉพาะการทำโครงการทำทางเท้าใหม่บนถนนสุขุมวิท และการทำปรับปรุงถนนซอยชัยมงคล 1 ที่ชำรุด ซี่งใช้งบประมาณกว่า 6 ล้านบาท โดยใช้เงินสะสมขอลเทศบาลที่มีกว่า 63 ล้านบาท ซึ่งปรากฏว่า ประชาชนชาวเทศบาลเมืองตราด ยกมือสนับสนุนโครงการนี้อย่างเป็นเอกฉันท์
ขณะเดียวกันการประชุมรับฟังความคิดเห็นของพี่น้องประชาชนในเขตเทศบาลเมืองตราดเกี่ยวกับปัญหาน้ำท่วมของเทศบาลเมืองตราดเมื่อเดือนกรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมาว่า ซึ่งนายสุรศักดิ์ ชี้แจงว่า ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เทศบาลเมืองตราดที่ผ่านมานั้นทางเทศบาลเมืองตราดร่วมกับทางโครงการชลประทานตราดและหน่วยงานดูแลเรื่องน้ำในระดับชาติ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจ.ตราด แล้วเพื่อจะ ใช้หลักการของการดูดน้ำสระน้ำ ได้นำบทเรียนปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองตราดไปวิเคราะห์และศึกษาถึงสาเหตุการเกิดน้ำท่วม ขึ้นเพื่อจะได้นำมาใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาน้ำท่วมในครั้งต่อไปนั้น
นายสุรศักดิ์ กล่าวว่า แนวทางในการแก้ปัญหาน้ำท่วมของเขตเทศบาลเมืองตราดควรจะนำวิธีการสูบน้ำเข้าสูบน้ำออกเนื่องจากพื้นที่ของตำบลบางพระที่เป็นที่ตั้งของเทศบาลเมืองตราดมีสภาพพื้นที่เสมือนเป็นชาม หรือกระทะที่รับน้ำจากสองตำบลที่ใกล้เคียงทั้งในพื้นที่ตำบลบางกระแจะและในพื้นที่ตำบล หนองเสม็ดซึ่งเป็นที่ตั้งของอ่างเก็บน้ำเขาระกำตอนล่าง ของโครงการชลประทานตราด จะทำการระบายน้ำลงมายังคลองบางพระ เพื่อระบายสู่แม่น้ำตราด ทางเดียวที่เทศบาลเมืองตราดจะแก้ไขได้ก็คือ การสูบน้ำออกไปลงคลองบางพระและออกไปสู่แม่น้ำตราด โดยในขณะนี้ ทางสำนักปลัดเทศบาลเมืองตราดได้ทำการเช่าเครื่องสูบน้ำไฟฟ้า มาเพิ่มอีกจำนวน 4จุด เพิ่อนำมาติดตั้งในพื้นที่ 4 จุด คือ บริเวณบ้านล่าง สะพานยายหลา หน้าเมืองตราด ส่วนที่ต้องใช้เครื่องสูบไฟฟ้าก็เพราะว่า เนื่องจากเทศบาลเมืองตราดเป็นสังคมเมืองหากเราใช้เครื่องดีเซลจะเสียงดังและมีควันซึ่งจะส่งผลกระทบกับสภาพแวดล้อมทั้งนี้ เป็นโมเดลที่จะทดลองจะสามารถรองรับปริมาณน้ำฝนเท่านั้น แต่หากมีฝนตกหนักมากเหมือนกรณีเกิดลานินย่าก็ไม่สามารถแก้ไขได้ ทำได้แต่การป้องกันเท่านั้น