สัมพันธ์ที่ดีระหว่างประเทศ ต้อนรับ นศ.กัมพูชา 69 คน ข้ามแดน ไป ม.สารคาม เรียนเอกภาษาไทย

วันที่ 29 ส.ค. 2567 ที่หน่วยประสานงานชายแดนประจำพื้นที่ 2 สำนักงานประสานงานชายแดนไทย-กัมพูชา ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพภาคที่ 1 ด่านผ่านแดนถาวรช่องจอม ต.ด่าน อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ นายพิรุณ  อุ่นศรี ผู้ช่วยดำเนินงานของสมาชิกวุฒิสภา สว.รุจิภาส มีกุศล และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัญญัติ  สาลี อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน (เขมร)คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคณะร่วมให้การต้อนรับ นิสิตนึกศึกษากัมพูชา จำนวน 69 คน ที่ข้ามแดนมาจากประเทศกัมพูชา

หลังความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศได้อนุมัติกิจกรรมสนับสนุนให้นิสิตเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมในบริบทสังคมและวัฒนธรรมไทย  ภายใต้โครงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย ที่ มหาวิทยาลัยภูมินท์พนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา ระยะที่ 2ให้เดินทางไปเรียนที่หลักสูตรภาษาไทยระยะสั้นแบบเร่งรัด ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ระหว่างวันที่ 28 ส.ค.2567 ถึงวันที่ 28 ก.ย.2567

 

กรมการร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ  และสถาบันการสอนภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยภูมินท์ พนมเปญ ได้ทำความตกลงกันเพื่อเปิดสอนภาษาไทยสำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยภูมินท์พนมเปญ ระดับวิชาภาษาไทยพื้นฐาน มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 เป็นต้นมา  มีการเปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรภาษาไทยพื้นฐาน ระดับ 1-4

โดยคณะทำงานในภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยภูมินท์พนมเปญ  ได้แก่ ผู้บริหาร คณาจารย์ และผู้เชี่ยวชาญโดยการสนับสนุนของกรมการความร่วมมือระหว่างประเทศ (TICA) เห็นควรสนับสนุนให้นิสิตวิชาเอก การศึกษาภาษาไทย ในปี พ.ศ.2567 นิสิตในหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชา  การศึกษาภาษาไทย จำนวน 69 คน มีโอกาสได้เรียนรู้และสัมผัสภาษาและวัฒนธรรมไทยในประเทศเจ้าของภาษาในระยะเวลาอย่างน้อย 1 เดือน เพื่อเป็นการเสริมสร้างทักษะและโอกาสใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารกับเจ้าของภาในประเทศให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ภาควิชาภาไทย มหาวิทยาลัยภูมินท์พนมเป็น จึงจัดโครงการสนับสนุนให้นิสิตเรียนรู้ภาและวัฒนธรรมไทยในบริบทสังคมและวัฒนธรรมไทย เพื่อให้นิสิตได้มีโอกาส แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับภาษา ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมไทย-กัมพูชา อันจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยปลูกฝังให้เยาวชนรุนใหม่ให้มีทัศนคติที่ดีต่อภาษาและวัฒนธรรมไทยและเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีงามระหว่างไทยกับกัมพูชาให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

 

 

 

 

ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัญญัติ  สาลี อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน (เขมร)คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวว่า โครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่จัดขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 ซึ่งมีการเปิดการเรียนการสอนภาษาไทย ที่มหาวิทยาลัยภูมินท์พนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยการสนับสนุนของกรมการร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศที่ได้เล็งเห็นว่าการสอนภาษาไทยเป็นการปูพื้นฐาน การเข้าใจของความเป็นไทยมากที่สุด เป็นการเรียนรู้คนไทยก็ต้องเรียนภาษาไทย โครงการดังกล่าวจึงเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง

 

โดยคณะทำงานในภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยภูมินท์พนมเปญ  ได้แก่ ผู้บริหาร คณาจารย์ และผู้เชี่ยวชาญโดยการสนับสนุนของกรมการความร่วมมือระหว่างประเทศ (TICA) เห็นควรสนับสนุนให้นิสิตวิชาเอก การศึกษาภาษาไทย ในปี พ.ศ.2567 นิสิตในหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชา  การศึกษาภาษาไทย จำนวน 65 คน มีโอกาสได้เรียนรู้และสัมผัสภาษาและวัฒนธรรมไทยในประเทศเจ้าของภาษาในระยะเวลาอย่างน้อย 1 เดือน เพื่อเป็นการเสริมสร้างทักษะและโอกาสใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารกับเจ้าของภาในประเทศให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ภาควิชาภาไทย มหาวิทยาลัยภูมินท์พนมเป็น จึงจัดโครงการสนับสนุนให้นิสิตเรียนรู้ภาและวัฒนธรรมไทยในบริบทสังคมและวัฒนธรรมไทย เพื่อให้นิสิตได้มีโอกาส แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับภาษา ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมไทย-กัมพูชา อันจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยปลูกฝังให้เยาวชนรุนใหม่ให้มีทัศนคติที่ดีต่อภาษาและวัฒนธรรมไทยและเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีงามระหว่างไทยกับกัมพูชาให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัญญัติ  สาลี อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน (เขมร)คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวอีกว่า โครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่จัดขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 ซึ่งมีการเปิดการเรียนการสอนภาษาไทย ที่มหาวิทยาลัยภูมินท์พนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยการสนับสนุนของกรมการร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศที่ได้เล็งเห็นว่าการสอนภาษาไทยเป็นการปูพื้นฐาน การเข้าใจของความเป็นไทยมากที่สุด เป็นการเรียนรู้คนไทยก็ต้องเรียนภาษาไทย โครงการดังกล่าวจึงเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง และในอนาคตที่มหาวิทยาลัยภูมินท์พนมเปญ จะมีการสร้างตึกอาคารเรียนอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการสร้าง และมีห้องสำหรับนักวิจัย คนไทยสามารถเข้าไปทำวิจัยที่นั่น เก็บข้อมูลและพักที่นั่นได้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัญญัติ ฯกล่าว

นายฐานันดร  รวดเร็ว นศ.ชั้นปีที่ 3 เอกวิชาภาษาเขมร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.มหาสารคาม  กล่าวว่า  จังหวัดอีสานใต้ของไทยติดกับประเทศเพื่อนบ้านกัมพูชา มีการค้าขาย ก็อยากเชิญชวนคนไทยมาเรียนวิชาภาษาเขมร ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ประโยชน์ เวลามีนักท่องเที่ยวหรือบริษัทหาล่าม สามารถต่อยอดอาชีพได้ ไม่ต้องแย่งงานใคร

 

 

 

 

 

ด้าน น.ส.ชินมาเนตร  จุง นศ.ชั้นปีที่ 3 ภาควิชาภาษาไทย สถาบันภาษาต่างประเทศ ภูมินท์พนมเปญ  กล่าวว่า เพื่อนมาทั้งหมด 69 คน ตนเรียนเอกภาษาไทยที่กัมพูชา และเคยมาอยู่ประเทศไทย จึงพูดไทยชัด ภาษาไทยมีมนต์เสน่ห์อย่างหนึ่ง ที่ดึงดูดใจมากๆ ทั้ง วรรณยุกต์ เสียงสระ พยัญชนะต่างๆ ส่วนภาษาเขมรก็เหมือนๆกัน มีการเชื่อมโยงกันตั้งแต่วัฒนธรรมโบราณมา จึงทำให้ชาวกัมพูชาสามารถเรียนภาไทยได้ง่าย ก็อยากให้ คนไทยเปิดใจเรียนรู้ภาษาประเทศเพื่อนบ้าน  เดราจะได้เรียนรู้ศึกษาประเพณีวัฒนธรรมที่คล้ายๆกัน เราเป็นเพื่อนรบ้านกันจะได้ช่วยกันพัฒนาประเทศชาติต่อไป

 

 

นายเปง ผาด  อาจารย์อาสาสอนภาษากัมพูชา กล่าวว่า มีนิสิตชาวกัมพูชา สนใจอยากเรียนภาษาไทยจำนวนมาก เราเป็นประเทศเพื่อนบ้าน มีวัฒนธรรมคล้ายกัน มีทั้งหลักสูตรระยะสั้นและระยะยาว  สำหรับคนไทยอยากเรียนภาษาเขมรก็สามารถลงทะเบียนเรียนที่ ม.สารคามได้ ยินดีต้อนรับเสมอ หลังจากนิสิตเรียนจบก็จะมีงานจากบริษัทไทยไปลงทุนที่กัมพูชา จบไปแล้วรับรองว่ามีงานทำแน่นอน.

 

 

 

 

 

 

ภาพ/ข่าว นพรัตน์  กิ่งแก้ว  ผู้สื่อข่าว จ.สุรินทร์