HD_web_ข่าวเด่นทั่วไทย-03-removebackground

คณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร จัดสัมมนา ปัญหาการบริหารจัดการที่ดินในยะลา

วันที่ 2 ก.ย. 2567 ที่โรงแรมการ์เด้นวิว เบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา นายอับดุลอายี สาแม็ง รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่ห้า กล่าว เปิดการสัมมนา เรื่อง การแก้ไขปัญหาและการพัฒนาด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และการมีส่วนร่วมของประชาชน ในหัวข้อ “ปัญหาการบริหารจัดการที่ดินในจังหวัดยะลา” นายอับดุลอายี สาแม็ง รองประธานคณะกรรมาธิการ เปิดเผยว่า จากสภาพปัญหาที่ยาวนานในเรื่องการใช้ที่ดินทำกิน สาเหตุที่เกิดจากปัญหามาในหลายรูปแบบอย่างเช่น ที่ดินที่มีการทับซ้อน ในการกำหนดเขตป่าใหม่กับที่ดินของชาวบ้านที่ทำกินมาก่อน เรื่องที่ดินที่อยู่ในเขตนิคมสร้างตนเองฯ เรื่องที่ดิน น.ส.ล. ซึ่งไม่ใช่หนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน แต่เป็นเอกสารที่ราชการจัดทำขึ้น. เพื่อบอกแนวเขตที่ดินของรัฐให้ชัดเจน และเรื่องที่ดินอุทยานฯ แต่เนื่องจากทั้งหมดทั้งปวงนั้นก็มีชาวบ้านเข้าไปทำกิน และสร้างที่อยู่อาศัย

โดยนโยบายของรัฐบาลก็อยากจะให้คนที่อยู่ในที่ทำกินเดิม มีสิทธิประโยชน์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย มีเอกสารสิทธิ์ แต่เนื่องจากในข้อจำกัดของกฎหมายที่ผ่านมา อย่างเช่น กฏหมายของป่าไม้ กฎหมายของนิคมฯ และกฎหมายของอุทยานฯ กฎหมายของ สปก. สุดท้ายผลกระทบมากที่สุดก็คือประชาชน จากข้อกฏหมายแต่ละฉบับที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งในวันนี้พยายามที่จะแก้ไข ในฐานะที่ผมอยู่ในฐานะคณะกรรมาธิการที่ดินและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมาพูดคุยเรื่องปัญหาที่ดินแต่ละอำเภอในจังหวัดยะลาที่มีอยู่ 8 อำเภอซึ่งมีปัญหาแตกต่างกันไปแล้วก็มาพูดครั้งเดียว เพื่อให้สอดคล้องนโยบายของรัฐในขณะนี้ พยายามที่จะทำให้เหมือนกันทั้งประเทศหากไม่พูดกันก่อนพอถึงเวลานั้นก็มีปัญหา แต่ถ้าปัญหาใดสามารถแก้ไขปัญหาล่วงไปก่อน ยกตัวอย่างกรณีที่บ้าน กม.36 กม.38 และ กม.29 ในพื้นที่ ต.อัยเยอร์เวง อ.เบตง จ.ยะลา เป็นปัญหาที่ดินที่ถูกโยกย้ายจากป่า บาลา – ฮาลา สมัยปี 2499 โยกย้ายมาเพื่อที่จะเข้าปราบปรามคอมมิวนิสต์ในพื้นที่ป่า ภายหลังจากทำการปราบปรามเสร็จชาวบ้านกลับไปอาศัยอยู่ที่เดิม แต่กลับเข้าไปอยู่ที่เดิมไม่ได้ ซึ่งก็เป็นปัญหาอีกปัญหาหนึ่ง

อย่างไรก็ตจากปัญหาดังกล่าวก็ยังคงไม่ได้แก้ไขปัญหาเหล่านี้ ซึ่งในแนวนโยบายของรัฐบาล ควรจะกำหนดให้แน่นอนว่าเราจะแก้ปัญหากันอย่างไร เพราะชาวบ้านที่มาอาศัยอยู่ริมถนนสาย 410 (ยะลา – เบตง) เอกสารสิทธิ์ที่อยู่อาศัยก็ไม่มี ซึ่งต้องติดตามดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนต่อไป นายอับดุลอายี สาแม็ง รองประธานคณะกรรมาธิการ กล่าว

เจษฎา สิริโยทัย /จ.ยะลา