คนไทยไม่ทิ้งกัน ทีมจิตอาสาจากจังหวัดนครนายก มอบสิ่งของจำเป็นช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม พื้นที่ จังหวัดนครพนม

วันที่​ 26 กันยายน 2567 ที่หน้าศาลากลางจังหวัด​นครพนมหลังเก่า​ นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นผู้แทนในการรับมอบสิ่งของเครื่องใช้อุปโภคบริโภคที่จำเป็น พร้อมกับกล่าวขอบคุณกลุ่มจิตอาสา เพื่อต้องการมอบสิ่งของดังกล่าวช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่น้ำท่วม ที่ถูกประกาศพื้นที่ภัยพิบัติ โดยมี นายมนตรี อัครเดโช ทีมงานอัครเดโช อ.บ้านนา จ.นครนายก นายอมรเทพ ภู่ทอง ทีมงานเสี่ยชาติ หรือเสี่ยต้น ทีมรถแห่มุกดาหาร คุณวสันต์(เสี่ยโอ) โดยประสานงานผ่านมายัง คุณภัทรภา เคนโมง ศูนย์ข่าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือประจำ จ.นครพนม เพื่อต้องการนำเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นมามอบผ่านทางผู้ว่าราชการจังหวัดและองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม ดำเนินการส่งต่อลงในพื้นที่ของผู้ประสบภัยน้ำท่วม​ ซึ่งหลังทำการส่งมอบเสร็จ​ ทีมจิตอาสาพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่องค์​การบริหาร​ส่วน​จังหวัด​นครพนม​ได้จัดสิ่งของ อุปโภคบริโภค น้ำดื่ม ขึ้นรถ เดินทาง ไปยังบ้านท่าบ่อสงคราม อำเภอศรีสงคราม เพื่อนำไปมอบ ให้กับ ชาวบ้าน ผู้ประสบภัยน้ำท่วม จำนวน 200 ชุด ส่วนที่เหลือ ได้มอบให้กับ จังหวัดนครพนมและ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม เพื่อจัดการ กระจาย สิ่งของบริจาค ให้กับ อำเภอ ที่ได้รับผลกระทบ ในพื้นที่ อื่นๆต่อไป

 

 

 

 

 

ซึ่ง นายมนตรี อัครเดโช​ ตัวแทนจิตอาสา กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า สิ่งของที่นำมามอบในครั้งนี้ได้รับการรวบรวมกันมาจาก กิจกรรมฟุตบอลการกุศล โดยให้ผู้ร่วมกิจกรรม​ นำสิ่งของต่างๆ​ เช่น​ข้าวสาร อาหารแห้ง อาหารกระป๋องและน้ำดื่มรวมทั้งเสื้อผ้าที่ยังใหม่และใช้แล้วสภาพดี ตลอดจน ไม้กวาด ผ้าอนามัยเป็นจำนวนมาก​ มาแทนค่าสมัครแข่งขัน ซึ่งตนก็ไม่ได้คาดคิดว่าจะมีเพื่อนๆจิตอาสา ต่างร่วมกันนำสิ่งของต่างๆ มาร่วมบริจาคกันมากมายขนาดนี้ ทำให้ตนและตัวแทนของทีมจึงตัดสินใจเดินทางมามอบสิ่งของดังกล่าวในครั้งนี้ด้วยตัวเองเพื่อส่งต่อให้ถึงมือผู้ที่ได้รับ ผลกระทบจากน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดนครพนมต่อไป

 

 

 

 

 

สำหรับจังหวัดนครพนมน้ำโขงยังคงสูงกว่า​ 11 เมตร​ ทำให้ลำน้ำสาขาคือ​น้ำอูน​ น้ำสงคราม​ ไหลระบายลงไม่ทัน​จึงไหลเอ่อเข้าท่วมในหลายพื้นที่ได้รับผลกระทบเป็นบรเวณกว้าง ซึ่งทสงจังหวัด​นครพนม​ได้ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย และเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยกรณีฉุกเฉิน อุทกภัย จำนวน รวม 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครพนม ท่าอุเทน นาหว้า​ บ้านแพงนาทม และศรีสงคราม มีบ้านเรือนถูกน้ำท่วมขังประมาณ 300 หลัง โดยมีน้ำท่วมขังหนักที่สุดที่อำเภอศรีสงคราม แม้ไม่ได้อยู่ติดแม่น้ำโขง แต่ลำน้ำสงคราม ไม่สามารถไหลระบายลงสู่แม่น้ำโขงได้ เนื่องจากน้ำโขงหนุนสูง ทำให้พื้นที่รุ่นต่ำของลุ่มน้ำสงคราม และลำน้ำมูลซึ่งเป็นแอ่งกระทะถูกทั่วมานานหลายสัปดาห์แล้ว เฉพาะอำเภอศรีสงครามคาดว่านาข้าวได้รับความเสียหาย ไม่น้อยกว่า 51,000 ไร่ รองลงมาคืออำเภอนาทม คาดว่านาข้าวเสียหาย ประมาณ 19,000 ไร่ แต่เมื่อรวมกับอำเภออื่นๆ ที่ได้รับพื้นที่ประสบสาธารณภัยคาดว่ามีความเสียหายประมาณ 86,000 ไร่.

 

 

 

 

ข่าว/ภาพ​ ประทีป​ วชิระ​ธ​ั​ญญา​กุล​ผู้​สื่อข่าว​ภูมิภาค​ จังหวัด​นครพนม​