ประธานคณะอนุกรรมการ ติดตาม ตรวจเยี่ยม ประเมินผลโครงการ วัด ประชา รัฐ สร้างสุข หนกลาง และ กล่าวถวายการต้อนรับคณะกรรมการฯ ในโอกาสลงพื้นที่ติดตาม ตรวจเยี่ยม และประเมินผลการดำเนินงาน โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ประจำหนกลาง ภาค 13 ประจำปีพุทธศักราช 2567

วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2567 นายธวัชชัย ศรีทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ถวายสักการะพระเดชพระคุณพระราชธรรมเมธี เจ้าคณะจังหวัดจันทบุรี เจ้าอาวาสวัดโค้งสนามเป้า ประธานคณะอนุกรรมการ ติดตาม ตรวจเยี่ยม ประเมินผลโครงการวัดประชารัฐ สร้างสุข หนกลาง และกล่าวถวายการต้อนรับคณะกรรมการฯ ในโอกาสลงพื้นที่ติดตาม ตรวจเยี่ยม และประเมินผลการดำเนินงาน โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ประจำหนกลาง ภาค 13 ประจำปีพุทธศักราช 2567 ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค 13 จังหวัดชลบุรี

ดังนี้
– เวลา 09.00 น. ณ วัดโคกขี้หนอน ตำบลโคกขี้หนอน อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี
– เวลา 12.30 น. ณ วัดหนองอ้อ ตำบลเกาะลอย อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี
โดยมีพระเดชพระคุณพระธรรมวชิราลังการ เจ้าคณะจังหวัดชลบุรี เจ้าอาวาสวัดบางพระ วรวิหาร บาทหลวงวิศิษฏ์ วิเศษเธียรกุล ผู้ช่วยบิช็อบ (พระสังฆราช) ฝ่ายการเงินและทรัพย์สินสังฆมณฑลจันทบุรี นางหนึ่งฤทัย พูลลาภ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดชลบุรี นายปรัตรวีร์ วิจบ นายอำเภอพานทอง ผู้บริหารท้องที่ท้องถิ่น ครู นักเรียนและพุทธศาสนิกชนในพื้นที่ ร่วมถวายการต้อนรับ

ตามที่มหาเถรสมาคม ได้มีมติเห็นชอบให้โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข เป็นหนึ่งในกิจกรรมโครงการในการพลักดันงานกิจการคณะสงฆ์ ด้านสาธารณูปการ โดยส่งเสริมในการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางของชุมชน ในด้านการเรียนรู้ การพัฒนาจิตใจ และสร้างสัปปายะสถานต่อบุคคลทุกคน และอำนวยประโยชน์แก่พุทธศาสนิกชนชุมชน และสังคม/ซึ่งปัจจุบันโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ด้วยกิจกรรม 5 ส ได้ดำเนินการมาจนถึงระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 – 2570) ในการดำเนินงานโครงการฯ ประจำปี พ.ศ.2567 จังหวัดชลบุรี ได้ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดชลบุรี สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดชลบุรี หน่วยงานทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่โดยมีวัดโคกขี้หนอน ต.โคกขี้หนอน และวันหนองอ้อ ต.เกาะลอย อ.พานทอง จ.ชลบุรีเป็นศูนย์กลางของชุมชน ด้วยแนวทาง 5 ส ประกอบไปด้วย สะสาง สะดวก สะอาด สร้างมาตรฐาน และสร้างวินัย ลงสู่บริบทของวัดเพื่อส่งเสริมให้วัดเป็นสถานที่ร่มรื่น สวยงาม เหมาะสมกับการเรียนรู้เป็นพื้นที่แบบอย่างทางด้านกายภาพและด้านจิตใจ อันจะนำไปสู่การพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางชุมชนที่มีประสิทธิภาพ และได้ชื่อว่า “วัดกลางใจชุมชนอย่างแท้จริง”