“ธนาคารที่ดิน” ชี้แจงผลดำเนินงานแก้จน สู่เป้าหมายพัฒนาที่ยั่งยืนของ UN

“ธนาคารที่ดิน” ชี้แจงผลดำเนินงานต่อกมธ.แก้ปัญหาหนี้สิน ความยากจนและลดความเหลื่อมล้ํา สภาฯ ย้ำเป็นองค์กรแก้ปัญหาด้านที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัย นำพาเกษตรกร พ้นความยากจน สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs ขององค์การสหประชาชาติ

วันที่ 16 ตุลาคม 2567 นายกุลพัชร ภูมิใจอวด ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่ สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) เข้าชี้แจงการดำเนินงานสถาบันฯ ต่อคณะกรรมาธิการแก้ปัญหาหนี้สิน ความยากจนและลดความเหลื่อมล้ํา สภาผู้แทนราษฎร มีนายสัมพันธ์ มะยูโซ๊ะ ส.ส.นราธิวาส เป็นประธานคณะกรมาธิการแก้ปัญหาหนี้สินฯ ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ CA411 ชั้น 4 อาคารรัฐสภา นายสัมพันธ์ กล่าวว่า กรรมาธิการแก้ปัญหาหนี้สินฯ ต้องการทราบแนวทางดําเนินการเพื่อให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดินที่เป็นธรรมและยั่งยืน, การรวบรวมข้อมูลที่ดินและเป็นตัวกลางระหว่างผู้ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในที่ดิน กับเจ้าของที่ดินที่ยังมิได้ใช้ประโยชน์หรือเจ้าของที่ดินที่ยังไม่ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างเต็มที่, การประสานงานกับหน่วยงานของรัฐเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินของรัฐและดําเนินการให้ได้มาซึ่งที่ดินของเอกชนที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือใช้ประโยชน์ไม่คุ้มค่าเพื่อให้เกษตรกรและผู้ยากจนได้ใช้ประโยชน์อย่างทั่วถึงรวมทั้งสนับสนุนทางการเงินแก่การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และการสนับสนุนให้ชุมชนมีการบริหารจัดการที่ดินร่วมกันทั้งที่ดินทำกินและที่ดิน สำหรับการอยู่อาศัยในรูปแบโฉนดชุมชน การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินของเกษตรกรและผู้ยากจน

ขณะที่ นายกุลพัชร ชี้แจงว่า ผลการดำเนินงานของธนาคารที่ดิน ในด้านกระจายการถือครองที่ดิน และป้องกันสูญเสียสิทธิฯ ในที่ดินของเกษตรกรและผู้ยากจน ปีงบประมาณ 2559-2567
ผ่านโครงการบริหารจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน (27 พื้นที่) จำนวน 1,113 ครัวเรือน พื้นที่ 3,369 ไร่ ผ่านโครงการต่าง ๆ ดังนี้ 1.โครงการหาข้อยุติในการบริหารจัดการ ในพื้นที่นำร่อง 4 ชุมชนภาคเหนือ จำนวน 332 ครัวเรือน พื้นที่ 741ไร่
2.โครงการแก้ไขปัญหาการสูญเสียสิทธิในที่ดิน จากการจำนอง/ขายฝากหรือถูกบังคับคดี จำนวน 341 ครัวเรือน พื้นที่ 2,289 ไร่
3.โครงการตัวกลางที่ดิน ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงที่ดิน โดยทำสัญญาระหว่างเจ้าของที่ดินและผู้เข้าใช้ที่ดินซึ่งสามารถทำการเกษตรได้จริง จำนวน 99 สัญญา 99 ครัวเรือ พื้นที่ 764 ไร่ รวมพื้นที่ดำเนินการ 7,164-4-52.6 ตรว.เงินลงทุน 883 ล้าน 4 แสนบาท ปัจจุบันมูลค่าที่ดิน เพิ่มขึ้นเป็น 1,141 ล้าน 4 แสนบาท รวม 4 โครงการ ช่วยเหลือเกษตรกร ทั้งสิ้น 1, 885 ครัวเรือน

นายกุลพัชร ชี้แจงด้วยว่า ในปีงบประมาณ 2568 “ธนาคารที่ดิน” มีแผนดำเนินงานช่วยเหลือเกษตรกรผู้ยากจนรายกลุ่ม ผ่านโครงการบริหารจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน เพิ่มอีก 15 พื้นที่ 12 จังหวัดทั่วประเทศ ด้วยงบประมาณ 470 ล้าน 4 แสนบาท และมุ่งดำเนินการช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรผู้ยากจนรายปัจเจค ผ่านโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการสูญเสียสิทธิ์ในที่ดินทำกินของเกษตรกรและผู้ยากจน จากการจำนอง/ขายฝาก หรือถูกบังคับคดี จำนวน 30 ราย งบประมาณ 16 ล้าน 8 แสนบาท ผ่านโครงการตัวกลางที่ดิน จำนวน 45 สัญญา งบประมาณ 2 ล้าน 9 หมื่นบาท นอกจากนี้ยังดำเนินโครงการซี่งบูรณาการร่วมกับกระทรวงยุติธรรม เพื่อบริหารจัดการที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์ค้างขายทอดตลาด 2 พื้นที่ งบประมาณ 2 ล้าน 9 แสนบาท

โครงการบูรณาการความร่วมมือกับ สคทช. เพื่อสนับสนุนทุนส่งเสริมอาชีพ และเพื่อการพัฒนารที่ดิน ใน 45 พื้นที่ งบประมาณ 12 ล้าน 9 แสนบาท ในด้านกฎหมาย ดำเนินการผลักดันจัดตั้ง “ธนาคารที่ดิน” หรือองค์กรอื่นที่มีวัตถุประสงค์ในลักษณะเดียวกันกับธนาคารที่ดิน ปัจจุบันอยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรีด้วยพันธกิจ และภารกิจ “ธนาคารที่ดิน” สอดคล้อง หมวดที่ 5 หน้าที่ของรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 72
(1) วางแผนการใช้ที่ดินของประเทศให้เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่และศักยภาพของที่ดินตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน
(2) จัดให้มีมาตรการกระจายการถือครองที่ดินเพื่อให้ประชาชนสามารถมีที่ทำกินได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
ภายใต้การบริหารราชการแผ่นดินของนายกรัฐมนตรี น.ส.แพทองธาร ชินวัตร มอบหมายรองนายกรัฐมนตรี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ กำกับดูแล ”ธนาคารที่ดิน“
“ธนาคารที่ดิน” มุ่งมั่นดำเนินตามพันธกิจ “กระจายการถือครองที่ดินอย่างยั่งยืน” เพื่อสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมในการเข้าถึงสิทธิในที่ดินของประชาชน
“ธนาคารที่ดิน” จึงตอบสนองเชิงนโยบาย มีส่วนสำคัญที่ช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ช่วยเหลือความเป็นอยู่ของครัวเรือนที่เปราะบางให้มีรายเพิ่ม ทั้งเพิ่ม GDP ประเทศ แก่นสำคัญที่เป็นเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ นั่นคือ “การไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” อันจะบรรลุความมุ่งหมายสูงส่ง สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนภายใน ค.ศ.2030 หรือในปี พ.ศ.2573 และก้าวขึ้นเป็นประเทศรายได้สูง มีการพัฒนาที่ครอบคลุม ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกันต่อวิกฤตทุก ๆ ด้าน