พิธีมอบนวัตกรรมผลงานหุ่นยนต์ช่วยฝึกเดินสำหรับฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตภายใต้โครงการความร่วมมือเพื่อเพิ่มมูลค่าสิ่งประดิษฐ์สู่การใช้ประโยชน์ Co-tunding วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา

วันที่ 24 ตุลาคม 2567 ณ.ห้องประชุมวิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา ว่าที่พันตรีวัชรพล ลักษณลม้าย ผู้อำนวยการวิทยฐานะเชี่ยวชาญ วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา ประธานในพิธี แพทย์หญิงนาตยา มิลส์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพุทธโสธร นางมนทิรา แก้วกันหา รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา นางสาวสิรินทร์พร เดียวตระกูล นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พร้อมคณะผู้บริหารวิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา ร่วมดำเนินการส่งมอบโครงการส่งมอบหุ่นยนต์ช่วยฝึกเดินสำหรับฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต เพื่อเพิ่มมูลค่าสิ่งประดิษฐ์สู่การใช้ประโยชน์ Co-tunding

สืบเนื่องจากวิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทราได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช)ในการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนาอาชีวศึกษาภายใต้โครงการตามร่วมมือเพื่อเพิ่มพูนค่าสิ่งประดิษฐ์สู่การใช้ประโยชน์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการนำสิ่งประดิษฐ์ของนักประดิษฐ์ในสถาบันการศึกษาในระดับอาชีวศึกษาให้ขยายผลหรือพัฒนาต่อยอดไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงสังคม ชุมชน รวมทั้งสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการวิจัยและการประดิษฐ์คิดค้นระหว่างนักวิจัย นักประดิษฐ์ และผู้ประกอบการ และสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่โดยสาขาวิชาเทคนิคการผลิตเป็นเจ้าของโครงการวิจัย ซึ่งได้ดำเนินการพัฒนานวัตกรรมดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว

ว่าที่พันตรีวัชรพล ลักษณลม้าย ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า การส่งมอบหุ่นยนต์ช่วยฝึกเดินสำหรับฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตเพื่อเพิ่มพูนค่าสิ่งประดิษฐ์สู่การใช้ประโยชน์ในครั้งนี้ ทางวิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรารู้สึกภาคภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของการช่วยเหลือสังคม และจะมุ่งมั่นพัฒนาสิ่งประดิษฐ์สู่สังคมอย่างต่อเนื่องต้องขอบคุณคณะครูอาจารย์นักเรียนนักศึกษาที่มีความมุ่งมั่นกับการพัฒนาในด้านต่างๆจนทำให้วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทราได้เป็นที่รู้จักของหน่วยงานต่างๆเป็นอย่างดีที่ผ่านมา ส่วนการดำเนินการทำหุ่นยนต์ช่วยฝึกเดินนั้นได้ใช้เวลาประมาณ 3 เดือนเศษในการทำและใช้งบประมาณ 70,000 เศษ ในการผลิตต่อ 1 ชิ้นผลงาน และขณะนี้ทางโรงพยาบาลบางคล้าก็ได้ประสานงานเข้ามาแล้วเพื่อจะให้ทางวิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทราได้ผลิตหุ่นยนต์ช่วยฝึกเดินสำหรับฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตเพื่อไปใช้งานที่โรงพยาบาลบางคล้าต่อไป

อาษา/ปรีญาภรณ/ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา