วันที่ 26 ต.ค. 2567 ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าโครงการับซื้อแปรรูปปลาหมอคางดำ ในพื้นที่ อ.ปากพนัง พร้อมด้วย นายกอบศักดิ์ เกตุเหมือน ประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช โดนนายกอบศักดิ์ กล่าวว่าในส่วนของ จ.นครศรีธรรมราช ตั้งแต่ไม่ได้รับงบประมาณทางประมงจังหวัดได้มีการคิกออฟ ตั้งแต่เดือน ก.ค. ที่ผ่านมา ครั้งแรก จับปลาหมอคางดำได้ 2,540 กิโลกรัม หลังจากนั้นได้มีงบประมาณที่จะนำมาซื้อปลาหมอคางดำ เพื่อเอามาทำน้ำหมักชีวภาพให้กับ กยท. ทางประมงจังหวัดได้ส่งปลาหมอคางดำ ไปให้ กยท.ได้ 17,100 กิโลกรัม หลังจากหมดงบประมาณที่จะจัดส่งให้ กยท. ทางกรมประมงได้มีงบประมาณส่วนหนึ่งที่จะซื้อปลาหมอคางดำต่อ จึงได้ดำเนินการซื้อปลาหมอคางดำ และได้ให้สถานีพัฒนาที่ดิน นำไปทำน้ำหมักชีวภาพ เป็นจำนวน 18,500 กิโลกรัม สำหรับในปัจจุบันกรมประมงได้ให้งบประมาณมาอีกส่วนหนึ่งเพื่อซื้อปลาหมอคางดำเพื่อทำน้ำหมัก ชีวภาพ ให้กับสถานีพัฒนาที่ดินอีกก้อนนึง ในส่วนของจังหวัดนครศรีธรรมราชได้มาจำนวน 20,000 กิโลกรัม หรือ 20 ตัน ตอนนี้กำลังดำเนินการรับซื้ออยู่ ซึ่งตอนนี้ยังขาดปลาหมอคางดำอยู่อีกประมาณ 2 ตัน นอกจากในส่วนงบประมาณของภาครัฐที่จะจัดซื้อปลาหมอคางดำแล้ว ในส่วนของชาวบ้านที่ทำการรับซื้ออยู่ที่เอาไปใช้ประโยชน์ เอาไปเป็นเหยื่อของปู สำหรับผู้เลี้ยงปู บางส่วนสำหรับชาวประมงที่ออกหาปลาในทะเล เอาเป็นเหยื่อใส่ในลอบปลา ที่รวบรวมได้ 48 ตัน และยังมีที่เอาไปใช้ประโยชน์อื่นๆ ทั้งเอาไปแปรรูปเป็นอาหารไม่ว่าจะทำเป็นปลาแดดเดียว ประมาณ 16 ตันโดยรวมแล้ว จังหวัดนครศรีธรรมราช ใช้ปลาหมอคางดำไปแล้ว 100 กว่าตัน
นายบุญเยือน รัตนวิชา อายุ 60 ปี ผู้รับซื้อปลาตัวแทนสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มน้ำปากพนังจำกัด กล่าวว่า จนถึงวันนี้เมื่อเทียบกับโครงการระยะที่สองปลาหมอคางดำจะมีขนาดตัวเล็กลง ส่วนปริมาณจะน้อยลงแต่ถือว่ายังลดลงไม่มาก เนื่องจากว่าทางกลุ่มสหกรณ์ผู้เรียนกุ้งได้ขอความร่วมมือจากชาวบ้านที่ต้องการปลาขนาดเล็กโดยวิธีการใช้อวนลากต้องการที่จะจับปลาเล็กมากำจัดให้ได้มากที่สุด สำหรับสถานการณ์การระบาดได้ลดลง 60 ถึง 70% ซึ่งมองได้จากครั้งแรก เพราะการรับซื้อเฟสแรกที่มีการรับซื้อปลาจะมีขนาดโตขึ้น เฟสที่สองปลาอยู่ในขนาดตัวปานกลาง แต่ในขณะนี้จะมีขนาดเล็กลงมาก ทำให้เห็นได้ว่าปริมาณการระบาดลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจนสำหรับมาตรการที่ทำอยู่ในขณะนี้คิดว่าเป็นการกระทำที่ถูกทางแล้วเพราะว่าภาครัฐโดยกรมประมงต้องการที่จะนำประหมอคางดำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ แทนที่จะกำจัดทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ เราก็สามารถที่จะนำมาแปลเปลี่ยนเป็นน้ำหมักชีวภาพเพื่อที่จะลดการใช้ปุ๋ยเคมีแล้วหันมาใช้ปุ๋ยชีวภาพมากยิ่งขึ้น จะทำให้คุณภาพของดินมีความอุดมสมบูรณ์ดีกว่าใช้ปุ๋ยเคมี นอกจากที่เราจะเป็นแพรับซื้อปลาแล้วเรายังเป็นผู้ที่ทำน้ำหมักด้วย เนื่องจากว่าก่อนหน้านี้เคยทำการรับซื้อแล้วส่งปลาไปอีกที่ เพื่อทำน้ำหมัก ทำให้มีปัญหาเรื่องของคุณภาพ ปัญหาเรื่องความสด และน้ำหนักของปลาได้ลดลงเนื่องจากปลาเริ่มเน่า เริ่มส่งกลิ่นเหม็น ก็จะมีปัญหาต่อสุขภาพหลายสิ่งหลายอย่างเลยขอทางราชการว่าต้องการปลาสดนำมาทำน้ำหมัก จุดนี้จึงกลายเป็นรับซื้อและนำมาทำน้ำหมักได้ทันทีก็จะทำให้คุณคุณภาพของน้ำหมักดีขึ้นได้ สำหรับปลาที่ใช้ไปแล้วในตอนนี้ในโครงการ 20 ตัน รับซื้อไปแล้ว 18 ตัน ซึ่งจะสิ้นสุดระยะเวลาการรับซื้อในวันที่ 26 พ.ย. นี้ แต่คาดว่าอีกวัน 2 วันปลาก็จะครบตามจำนวน 20 ตัน สำหรับการแปรสภาพปลาหมอคางดำมาเป็นน้ำหมัก ผมคิดว่าเราเดินมาถูกทางแล้วเพราะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เราจะเปลี่ยนวิกฤตให้มาเป็นโอกาส เมื่อเกษตรกรผู้ปลูกพืชต่างๆสามารถใช้ประโยชน์จากน้ำหมักสามารถลดต้นทุนการผลิตของพืชต่างๆได้น้ำหมักส่วนนี้จะนำไปใช้ โดยกรมพัฒนาที่ดินจะนำไปแจกจ่ายให้กับเกษตรกรผู้ปลูกผักทั่วประเทศ เมื่อเทียบกับตอนแรกรับซื้อกับตอนนี้เราจะเห็นว่าปลาจะมีขนาดเล็กลงส่วนปริมาณการจับจะมีน้อยลงแต่ถือว่ายังลดลงไม่มากเพราะเนื่องจากทางกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจะขอความร่วมมือจากชาวบ้านที่ต้องการปลาขนาดเล็กโดยวิธีการที่ใช้อวนลากเพื่อที่จะนำปลาเล็กมาใช้ประโยชน์และกำจัดปลาเล็กได้มากที่สุด