วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทราร่วม สอศ.ประชุม (ร่าง) พรบ. ส่งเสริมการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีแห่งชาติ

วันที่ 18 พ.ย. 67 นายวิทวัต ปัญจมะวัต รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นประธาน การประชุม (ร่าง) พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีแห่งชาติ โดยมีว่าที่พันตรีวัชรพล ลักษณลม้าย ผู้อำนวยการศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคี ผู้อำนวยการสถานศึกษา ข้าราชการและบุคลากร สอศ. และสถานประกอบการที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา
การประชุมในครั้งนี้

เพื่อเป็นแนวทาง กลไกการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีที่มีคุณภาพ เป็นประโยชน์กับทุกภาคส่วน
เพื่อส่งเสริมการพัฒนาระบบบริหารจัดการการศึกษาระบบทวิภาคีให้มีคุณภาพ เพื่อส่งเสริมการขยายและพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี
เพื่อเสริมสร้างและขยายความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายให้มีความเข้มแข็งและกว้างขวางมากขึ้น เพื่อจัดหาและบูรณาการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ในภาคีเครือข่าย และหน่วยงาน
เพื่อปฏิรูประบบการเรียนรู้ทวิภาคีให้มีความยืดหยุ่น หลากหลาย
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
– ความเป็นมา (ร่าง) พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีแห่งชาติ
แจ้งคำสั่งคณะกรรมการการจัดทำ (ร่าง) พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีแห่งชาติ
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุม
– รายงานการประชุมหารือการยก (ร่าง) พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีแห่งชาติ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2567 ณ ห้องประชุม 5 ชั้น 1 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องสืบเนื่อง
– กระบวนการ (ร่าง) พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีแห่งชาติ ตามมติที่ประชุม มอบหมายแต่หมวดประกอบ (ร่าง) พระราชบัญญัติดังกล่าวฯ
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเสนอเพื่อทราบ
– นำเสนอผลการยก (ร่าง) พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีแห่งชาติ
หมวด 1 หลักการและเหตุผล/ที่มาและความสำคัญ และมาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
หมวด 2 โครงสร้าง (คณะการดำเนินงานส่วนกลาง)
โดยจ่าสิบเอก สมพร ชูทอง ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร
หมวด 3 สถานประกอบการที่จัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
โดย นายบุญลือ ทองเกตุแก้ว ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3
▪️หมวด 4 การบริหารจัดการของส่วนกลาง สอศ./สถานศึกษา/สถาบันการอาชีวศึกษา
โดยจ่าสิบเอก สมพร ชูทอง
ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร
▪️หมวด 5 ระบบการฝึกงาน – ฝึกอาชีพ /ขั้นตอนกระบวนการ – การเตรียมความพร้อม การฝึกงาน – ฝึกอาชีพ ระหว่างฝึกและหลังฝึกเสร็จ/การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ/แฟ้มสะสมผลงาน
โดย นายประทีป จุฬาเลิศ ผู้ทรงคุณวุฒิ
▪️หมวด 6 สิทธิประโยชน์ของสถานประกอบการ
โดย จ่าสิบเอก สมพร ชูทอง
ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา
(ร่าง) พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีแห่งชาติ

อาษา/ปรีญาภรณ์/ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา