ภูเก็ต จัดโครงการ “ลด Food Waste @Phuket” กินเกลี้ยง เลี่ยงโลกร้อน

วันที่ 26  พ.ย. 2567 กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจัดทำโครงการการจัดการขยะอาหาร (Food Waste) ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต แบบมีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบ โดยจัดกิจกรรมลด Food Waste @Phuket “กินเกลี้ยง เลี่ยงโลกร้อน” ณ โรงแรมรอยัลภูเก็ตซิตี้ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต โดยมีนายธีระพงศ์ ช่วยชู ปลัดจังหวัดภูเก็ตเป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม ภายในงานมีการจัดบูธแสดงผลงาน ของหน่วยงานภาคีเครือข่ายต่างๆที่ลงนามความร่วมมือ และมีเวทีการเสวนา เรื่อง “กลไกหุ้นส่วนความร่วมมือจัดการขยะอาหารส่วนเกินและขยะอาหาร เพื่อขับเคลื่อนการท่องเที่ยวยั่งยืน” และ “การผสานเครือข่ายจัดการอาหารส่วนเกินขยะอาหาร (ต้นทาง-ปลายทาง)” นายธีระพงศ์ ช่วยชู ปลัดจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า “นับจากนี้ไปขอให้ทุกภาคส่วนจับมือกันช่วยกันกำจัดขยะให้หมดไปจากจังหวัดภูเก็ต และร่วมสร้างโลก สีเขียวเกาะภูเก็ตสีเขียวด้วยการร่วมกัน (กินเกลี้ยง เลี่ยงโลกร้อน) เพื่อรักษาเกาะภูเก็ตให้มีความสวยงาม และเป็นไข่มุกแห่งอันดามันอย่างยั่งยืน”

นางสาวจันทิรา ดวงใส ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 15 กล่าวว่า ตามที่นโยบายรัฐบาล ได้ตั้งเป้าการท่องเที่ยวในปี 2567 ให้มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาประเทศไทยรวม 35 ล้านคน โดยจังหวัดภูเก็ต เป็นแหล่วท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่ง ที่เป็น เป้าหมายของนักท่องเที่ยว และนักเดินทาง ดูในปี 2567 ระยะเวลาเพียง 9 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกันยายน 2567 มีนักท่องเที่ยวเดินทางมายังจังหวัดภูเก็ตประมาณ 9 ล้านคน จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ทำให้จำนวนประชากรแรงงงานในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเพิ่มขึ้นด้วยเพื่อรอวรับภาคธุรกิจท่องเที่ยว /ส่งผลให้ปริมาณขยะมูลฝอยของจังวัดภูเก็ต เกิดขึ้นโดยเฉลี่ยวันละ 1,000 ตันต่อวันและจากการศึกษาข้อมูลสัดส่วนองค์ประกอบขยะมูลฝอย โดยการสุ่มตัวอย่างของจังหวัดพบว่า มีเศษอาหารมากที่สุด ประมาณร้อยละ 50 ในขณะเดียวกัน จากนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาล เรื่องฟรีวีซ่า หรือ ผลักดันเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต โดยสิ่งเหล่านี้ มีผลต่อความต้องการอาหาร เพื่อรองรับการบริโภคของนักท่องเที่ยว และสิ่งที่เกิดขึ้นตามมา คือ ปริมาณอาหารส่วนเกิน และปริมาณขยะอาหารที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสัมพันธ์กับปริมาณนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น และที่สำคัญขยะอาหารมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของเตาเผาขยะมูลฝอย และปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้น สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 15 กรมควบคุมมลพิษ จึงได้ดำเนินโครงการการจัดการขยะอาหาร (Food Waste) ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต แบบมีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนสิ่งแวดล้อมดำเนินงานครอบคลุมพื้นที่ 3 อำเภอของจังวัดภูเก็ต และได้ดำเนินโครงการมาแล้วเป็นระยะเวลา 1 ปี จึงกำหนดจัดการประชุมสัมมนาและเปิดตัวโครงการการจัดการขยะอาหาร (Food Waste) ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต แบบมีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบ โดยมีกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน สถาบันการศึกษา ภาคประชาสังคม และอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน รวมจำนวน 250 คน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการนำเสนอผลการดำเนินงาน ที่ผ่านมาอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นพื้นที่สื่อสาร ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ ร่วมแลกเปลี่ยน และเชื่อมสานภาคส่วนต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ตลอดจนยกระดับการบูรณาการความร่วมมือของทุกภาคีในการขับเคลื่อนการจัดการอาหารส่วนเกินและขยะอาหารของจังหวัดภูเก็ตให้เกิดความต่อเนื่องในระยะยาว

นอกจากนี้การจัดกิจกรรม ได้จัดเวทีสัมมนา (กลไกหุ้นส่วนความร่วมมือจัดการอาหารส่วนเกินและขยะอาหาร เพื่อขับเคลื่อนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน) โดยมี ผู้ร่วมเสวนาจากมูลนิธิพัฒนาการท่องเที่ยวยั่งยืน, มูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์, องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก และสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมลพิษที่ 15ดำเนินรายการ โดย คุณนิตยา ยั่งยืน และช่วงที่ 2 เป็นเวทีสัมมนา ผสานเครือข่ายจัดการอาหารส่วนเกินและขยะอาหาร (ต้นทาง-ปลายทาง) ร่วมเสวนาโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต, สมาคมโรงแรมไทย (ภาคใต้), องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาลนครภูเก็ต) และ สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต ดำเนินรายการ โดย คุณนิตยา ยั่งยืน สำหรับหน่วยงาน ที่ร่วม MOU มีจำนวน 18 หน่วยงาน ประกอบไปด้วย สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมลพิษที่ ๑๕ (ภูเก็ต), กองทุนสิ่งแวดล้อมสำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต, สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด, องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต, เทศบาลนครภูเก็ต, เทศบาลเมืองกะทู้, เทศบาลตำบลวิชิต, เทศบาลตำบลศรีสุนทร, สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดภูเก็ต, คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต, คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, สมาคมโรงแรมไทยภาคใต้, สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต, ฝ่ายสิ่งแวดล้อมมูลนิธิพัฒนาการท่องเที่ยวยั่งยืน, มูลนิธิ สโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ (SOS) และเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 15 (ภูเก็ต) หรือ สคพ.15 กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดทำโครงการการจัดการขยะอาหาร (Food Waste) ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต แบบมีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนสิ่งแวดล้อม มีระยะเวลาดำเนินโครงการ ๑๘ เดือน (1 พฤศจิกายน 2566 – 30 เมษายน 2568) มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างการรับรู้แก่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการมีส่วนร่วมจัดการอาหารเหลือทิ้งตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ทำให้เกิดการบูรณาการร่วมกัน และมีรูปแบบการจัดการที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับพื้นที่อื่นได้ รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดการใช้ทรัพยากรด้านอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ และสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครัวเรือน ร้านค้าปลีก (ขนาดใหญ่และขนาดย่อย) โรงแรม ร้านอาหาร ตลาดสด ศูนย์เรียนรู้ และสถาบันการศึกษา การดำเนินงานโครงการที่ผ่านมา การขับเคลื่อนโครงการใช้กลไกการลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ความร่วมมือการผลักดันและขับเคลื่อนการจัดการอาหารส่วนเกินและขยะอาหารจังหวัดภูเก็ต นำโดย นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วยหน่วยงานจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทร่วมขับเคลื่อน ประกอบด้วย ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา มูลนิธิ สมาคม และอาสาสมัครทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมประจำหมู่บ้าน รวมทั้งสิ้น 17 หน่วยงาน โดยทั้ง 17 หน่วยงาน มีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการ และคณะกรรมการบริหารโครงการ การดำเนินงานครอบคลุม ๓ อำเภอ / อำเภอกะทู้ อำเภอถลาง และอำเภอเมือง โดยแผนการดำเนินงาน ประกอบด้วย ๕ แผนงาน ประกอบด้วย 1. การสำรวจข้อมูลขยะอาหาร  2. พัฒนาระบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม (Web-based digital platform) ในการจัดการขยะอาหารและอาหารส่วนเกิน 3. การส่งเสริมระบบการกระจายอาหารและนำขยะอาหารไปใช้ประโยชน์ การสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการ และการอบรมเชิงปฏิบัติการ 4. การสร้างการรับรู้แก่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง การรณรงค์ เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ เนื่องในวันสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ วันสิ่งแวดล้อมโลก วันทะเลโลก วันอาหารโลก วันสร้างการตระหนักรู้ลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร 5. การติดตามและประเมินผล โดยคณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการ และคณะกรรมการบริหารโครงการ ทั้งนี้ผลการดำเนินงาน ที่ผ่านมา การถ่ายทอดองค์ความรู้ แก่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และรูปแบบการส่งเสริมการจัดการขยะอาหารจากต้นทาง หรือจากแหล่งกำเนิด โดยใช้หลัก 3Rs ( Reduce Reuse Recycle) และการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการอาหารส่วนเกิน และการจัดการขยะอาหาร แก่หน่วยงาน / องค์กรที่มีบทบาทดำเนินงานโดยตรง ซึ่งคาดว่าจากความร่วมมือของภาคีทุกภาคส่วน จะหนุนเสริมการจัดการขยะอาหารจากต้นทางเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้ปริมาณขยะอาหารเข้าสู่เตาเผาลดลง พร้อมกันนี้การจัดกิจกรรม ได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้ แลกเปลี่ยน และเสนอข้อคิดเห็นด้วย

จิระชัย เกษมพิมลพร /จ.ภูเก็ต