ชาวเน็ต จี้ ฟังเสียงผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้ากว่า 1 ล้านคน เอาบุหรี่ไฟฟ้าขึ้นบนดินแทนการแบน

จากกรณีการเรียกร้องให้คงกฎหมายห้ามบุหรี่ไฟฟ้าของเครือข่าย NGO ด้านสุขภาพโดยมีการยื่นรายชื่อ 5 แสนรายให้คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษากฎหมายและมาตรการควบคุมกำกับบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย (กมธ.) คงการแบนบุหรี่ไฟฟ้าต่อไป เนื่องจากคะแนนเสียงส่วนใหญ่ใน กมธ. ต่างเห็นด้วยที่จะนำบุหรี่ไฟฟ้าที่อยู่ใต้ดินขึ้นมาควบคุมให้ถูกกฎหมาย เช่นเดียวกับ 82 ประเทศทั่วโลก นั้น
นายสาริษฏ์ สิทธิเสรีชน เจ้าของเพจเฟซบุ๊กและ X (ทวิตเตอร์) “มนุษย์ควัน” โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุ “#โหวตนี้เพื่อบุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย ถ้าผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าล่ารายชื่อกันเองได้ก็เป็นล้านเหมือนกัน! ในไทยขนาดแบนอยู่ยังใช้กันเป็นล้านคน เชื่อผม!”
โพสต์ดังกล่าวยังได้เผยแพร่ภาพโพลออนไลน์ที่จัดทำโดยเพจของสื่อออนไลน์ชื่อดังที่มีผู้ติดตามในเฟซบุ๊กกว่า 14 ล้านคนเมื่อปี 2565 สอบถามความคิดเห็นของสังคมว่าถึงเวลาหรือยังที่บุหรี่ไฟฟ้าควรถูกกฎหมาย

 

 

ซึ่งผู้ตอบส่วนใหญ่ (ร้อยละ 64.91) ระบุว่าถึงเวลาแล้วที่บุหรี่ไฟฟ้าควรถูกกฎหมายเพื่อเป็นทางเลือก และหากบุหรี่ปกติถูกกฎหมายได้ บุหรี่ไฟฟ้าก็ควรถูกกฎหมายด้วย
พร้อมกล่าวปิดท้ายว่า “เรามันประชาชนจนๆ ตาดำๆ ไม่มีเงินจัดงานแบบเค้าหรอก แต่ก็อยากให้รู้ว่าผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าอีกเป็นล้านคนที่อยากให้ถูกกฎหมายสักที ฟังเสียงผู้ใช้บ้าง อย่าฟังความข้างเดียว”
นายสาริษฏ์ ยังได้แสดงความเห็นต่อว่าก่อนหน้านี้เครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าก็เคยมีการยื่นรายชื่อผู้สนับสนุนให้ควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าอย่างถูกกฎหมายเกือบ 5 หมื่นราย พร้อมผลการวิจัยและแนวทางที่ต่างประเทศควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าไปให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กมธ. วิสามัญฯ เพื่อขอให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมายภายใต้การควบคุมที่เข้มงวด เช่นเดียวกับ 80 กว่าประเทศทั่วโลกที่ไม่แบนบุหรี่ไฟฟ้า และเชื่อว่า กมธ วิสามัญนั้นมีตัวแทนจากหลายพรรคการเมือง หลายฝ่าย แม้กระทั่ง NGO สายสุภาพ และถือว่าเป็นผู้แทนของประชาชนทั้งประเทศ

 

ชาวเน็ตได้เข้ามากดถูกใจและแชร์โพสต์ดังกล่าวไปเป็นจำนวนมาก พร้อมคอมเม้นต์สนับสนุนว่า
“+1ขอใช้ สิทธิ์เลือก✅ =ถึงเวลาแล้วที่บุหรี่ไฟฟ้าควรถูกกฎหมายเพื่อเป็นทางเลือก”
“1+ เห็นด้วยกับการที่บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย”
“เห็นด้วยครับขอให้ถูกกฎหมายและเป็นตามหลักสากลครับ”

นายสาริษฏ์ สิทธิเสรีชน เป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับเชิญจาก กมธ. ในฐานะประชาชนผู้ใช้ ที่ได้รับผลกระทบจากความไม่ชัดเจนของกฎหมายและถูกริดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภค เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์และแนวทางการควบคุมผลิตภัณฑ์แบบไม่มีควันในต่างประเทศ ซึ่งตรงกันข้ามกับประเทศไทยที่แบนบุหรี่ไฟฟ้าแต่ก็ยังมีผู้ใช้ในประเทศถึงประมาณ 1 ล้านคน