ยะลา โอฉี่ และมูซังคิง ทุเรียนขึ้นชื่ออำเภอเบตง

อยากอร่อยแยกให้ออกอร่อยแบบไหน  ระหว่างโอฉี่ หรือ มูซังคิง ทุเรียนขึ้นชื่ออำเภอเบตง จ.ยะลา

วันที่ 20 มิภุนายน 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่สวนโกดังส้ม ต.ตาเนาะแมเราะ อ.เบตง จ.ยะลา นายสามารถ บาสาลอ ผู้จำหน่ายทุเรียนในพื้นที่กำลังเก็บทุเรียนสายพันธุ์ โอฉี่ ซึ่งเป็นทุเรียนอีกหนึ่งสายพันธุ์ของประเทศมาเลเซีย และเป็นทุเรียนขึ้นชื่อของมาเลเซียที่นักบริโภคทุเรียนนิยมรับประทานกัน  ลักษณะของทุเรียนโอฉี่ ที่ตูดทุเรียนจะเป็นหนามดำ ส่วนทุเรียนมูซานคิงตูดทุเรียนจะเป็นดาว ซึ่งทั้ง 2 สายพันธุ์นี้เป็นสายพันธุ์จากประเทศมาเลเซีย ซึ่งชาวเกษตรกรของอำเภอเบตง ได้นำพันธุ์ทุเรียนทั้ง 2 สายพันธุ์นี้มาปลูกในพื้นที่ ส่วนพื้นที่ปลูกทุเรียนในพื้นที่อ.เบตง จ.ยะลา จะปลูกบนพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลกว่า 1,000 เมตร ทุเรียนที่ปลูกในพื้นที่นี้จะมีลักษณะแข็งนอก นุ่มใน กรอบ อร่อย  โดยในพื้นที่ อ.เบตง มีทุเรียนทั้ง หมอนทอง มูซังคิง, หนามดำ, พวงมณี, ชะนี, ก้านยาว  ในพื้นที่มีทุเรียนที่หลากหลายสายพันธุ์  โดยเฉพาะทุเรียนพื้นเมืองที่มีรสชาติอร่อยมาก ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการผสมสายพันธุ์ด้วย  ตอนนี้การเกษตรและการท่องเที่ยวของ อ.เบตง จ.ยะลา เป็นของคู่กัน หากการท่องเที่ยวดี มีการเกษตรช่วยหนุนเสริม เน้นคุณภาพเป็นหลัก ก็จะทำให้เศรษฐกิจในพื้นที่ดียิ่งขึ้นด้วย เนื่องจากอ.เบตง จ.ยะลา มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นอีกประเทศหนึ่งที่นักบริโภคทุเรียน จะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวและแวะสวนทุเรียนในพื้นที่ จนเป็นที่ยอมรับว่า รสชาด ทุเรียนทั้ง 2 สายพันธุ์ ทั้ง โอฉี หรือ หนามดำ และ มูซังคิง มีรสชาติหอม อร่อย เนื้อเป็นครีม ละลายในปาก กินไม่รู้จักอิ่มเลยทีเดียว 

 

 

นายสามารถ บาสาลอ ผู้จำหน่ายทุเรียน บอกว่า ทุเรียนทั้ง 2 สายพันธุ์นี้ตนมีความเชื่อมั่นในรสชาดระหว่างทุเรียนที่ปลูกในพื้นที่กับที่ปลูกต่างประเทศ และคิดว่าทุเรียนที่ปลูกในประเทศไทย ค่อนข้างมีคุณภาพ  ส่วน ในเรื่องของเนื้อทุเรียน และการปลูก  เนื่องจากเกษตรกรบ้านเรามีความพิถีพิถันในการปลูกดูแลเอาใจใส่อย่างดี ซึ่งเชื่อว่าสามารถสู้กับประเทศอื่นได้และในปีที่ผ่านมายังเป็นระดับต้นๆของโลกที่ส่งออก โดย มูลค่าการส่งออกทุเรียนของไทยในปี 2565 เพิ่มขึ้นเป็น 5 เท่า ในช่วงระยะเวลาเพียง 5 ปีที่ผ่านมา เป็น 110,000 ล้านบาท จนทำให้ในวันนี้ ประเทศไทยขึ้นแท่นเบอร์ 1 ผู้ส่งออกทุเรียนของโลก  แต่ตลาดส่งออกหลักของเรา แทบทั้งหมด ก็คือ ประเทศจีน    ส่วนความแตกต่างระหว่างทุเรียน 2 สายพันธุ์นี้มีลักษณะแตกต่างกัน ทุเรียนสายพันธุ์โอฉี่หรือ หนามดำ  มีลักษณะเนื้อออก สีส้ม พาสเทล  ส่วนทุเรียนสายพันธุ์มูซังคิง เนื้จะออกสีเหลืองทอง นิยมกินแบบครีมมี่  ซึ่งทั้ง2สายพันธุ์ นักบริโภคนิยมกินแบบครีมมี่ มีความนุ่มละเอียด ละลายในปาก  ส่วนราคา ขึ้นอยู่กับต้นแก่ ต้นสาว ซึ่งตอนนี้มีหลายราคา อย่าง ทุเรียนสายพันธุ์โอฉี่ หรือหนามดำ เกรด B อยู่ที่ กิโลกรัมละ 550 บาท ส่วนเกรด A อยู่ที่ กิโลกรัมละ 650 บาท ซึ่งทั้ง2 สายพันธุ์นี้จะมีราคาพอๆกัน   ส่วนความเชื่อมั่นกรณีคู่ค้าต่างประเทศตีตลาดไทย นายสามารถ บอกว่า ตนเองมีความเชื่อมั่นเพราะทางส่วนราชการได้มีการควบคุมป้องกันและแก้ไขปัญหาทุเรียนอ่อนในการออกสู่ตลาด และมีการรณรงค์ให้เกษตรกร ผู้รับซื้อ และผู้มีอาชีพตัดทุเรียน เก็บเกี่ยวทุเรียนในระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมรวมทั้งการรณรงค์การไม่ซื้อ ไม่ขาย ทุเรียนอ่อนด้วยจึงมีความมั่นใจในทุเรียนของไทยเราที่สู้คู่แข่งได้

 

เจษฎา สิริโยทัย ผู้สื่อข่าวจ.ยะลา