“เฉลิมชัย” ลงพื้นที่อุดรฯ ติดตามโครงการน้ำบาดาลระยะไกล แก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ และน้ำเค็ม

/วันที่ 22 มกราคม 2568 เวลา 10.00 น. นายนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมคณะผู้บริหารในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เดินทางลงพื้นที่ตรวจราชการ “โครงการจัดหาแหล่งน้ำบาดาลระยะไกลเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่ขาดแคลนน้ำหรือน้ำเค็ม” พื้นที่บ้านถ่อนใหญ่ หมู่ 7 ต.นาข่า อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมีนายณฐพล วิถี รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี พ.ต.อ.วิธ มุทธสินธุ์ นายกเทศบาลตำบลนาข่า ข้าราชการท้องถิ่น ฝ่ายปกครอง ข้าราชการครู และนักเรียน ในพื้นที่ตำบลนาข่าให้การต้อนรับ

นายณฐพล วิธี รอง ผวจ.อุดรธานี กล่าวรายงานข้อมูลเบื้อต้นของจังหวัดอุดรธานี พอสังเขปดังนี้ จังหวัดอุดรธานี มีพื้นที่ 11,730 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 7,331,438 ไร่ มีพื้นที่มากเป็นอันดับที่ 4 ของภาคตะวันออกฉียงเหนือ รองจากจังหวัดนครราชสีมา อุบลราชธานี และชัยภูมิ แบ่งการปกครองออกเป็น 20 อำเภอ 156 ตำบล 1,891 หมู่บ้าน มีประชากรรวม 1,567,983 คน หรือประมาณ 414,868 ครัวเรือน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
สำหรับข้อมูลด้านแหล่งน้ำในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี มีจำนวนทั้งสิ้น 294 แห่ง จำแนกเป็นอ่างเก็บน้ำ 178 แห่ง ฝายคอนกรีต 116 แห่ง ความต้องการใช้น้ำปัจจุบัน 16,2534 ล้าน ลบ.ม. และมีความต้องการใช้น้ำในปี 2568 มากถึง 4,093.90 ล้านลบ.ม. ในช่วงฤดูแล้งแหล่งน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำของประชาชน เนื่องจากพื้นที่บางส่วนของจังหวัดอุดรธานีเป็นพื้นที่ดินเค็ม ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการนำน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้หรือขุดสระเพื่อกักเก็บน้ำ มีปัญหาเรื่องคุณภาพน้ำ ไม่สามารถนำมาใช้สำหรับอุปโภค บริโภค และทำการเกษตรได้อย่างเพียงพอ

 

 

 

 

 

 

นายภาดล ถาวรกฤชรัตน์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กล่าวรายงานความเป็นมาของโครงการจัดหาแหล่งน้ำบาดาลระยะไกลเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่ขาดแคลนน้ำหรือน้ำเค็ม เกิดขึ้นเนื่องจากประชาชนในพื้นที่ตำบลนาข่า อ.เมือง จ.อุดรธานี มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และมีความต้องการใช้น้ำเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับแหล่งน้ำผิวดินไม่เพียงพอ และการพัฒนาน้ำบาดาลขึ้นมาใชโดยทั่วไปมักพบปัญหาน้ำบาดาลกร่อย เค็ม ทำให้พัฒนาน้ำบาดาลได้ยาก กรมทรัพยากรน้ำบาดาล จึงได้ดำเนินการสำรวจพื้นที่พบว่า บ้านถ่อนใหญ่ หมู่ที่ 7 เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพน้ำบาดาล เฉลี่ย 10- 20 ลบ.ม./ชม. และคุณภาพน้ำบาดาลจืด สามารถนำไปพัฒนาเป็นโครงการได้

จึงได้จัดทำ “โครงการจัดหาแหล่งน้ำบาดาลระยะไกลเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่ขาดแคลนน้ำหรือน้ำเค็ม รูปแบบที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565″ โดยมีรูปแบบโครงการ ประกอบด้วย 1.บ่อน้ำบาดาลขนาด 6 นิ้ว จำนวน 4 บ่อ 2.ถังเหล็กเก็บน้ำ ขนาด 100 ลบ.ม. จำนวน 2 ถัง 3.หอถังสูง ขนาด 85 ลบ.ม. 4.จุดจ่ายน้ำถาวร/ปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบันสามารถพัฒนาน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ได้มากถึง 385,440 ลูกบาศก์เมตรต่อปี ประชาชนได้รับประโยชน์ จำนวน 325 ครัวเรือน หรือ 11,568 คน ประชาชนใช้น้ำไปแล้ว 340,162 ลูกบาศก์เมตร นอกจากนี้ประชาชนได้มีการร้องขอให้ขยายท่อส่งน้ำไปยังอีก 2 หมู่บ้าน คือ บ้านดอนแตง และบ้านเหล่าสีจาน ซึ่งทางกรมทรัพยากรน้ำบาดาลจะดำเนินการช่วยเหลือต่อไป

 

 

 

สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 กรมทรัพยากรน้ำบาดาล มีเป้าหมายดำเนินโครงการน้ำบาดาลในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำและช่วยเหลือประชาชน ทั้งน้ำอุปโภคบริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร ได้แก่ 1.โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 8 แห่ง 2.โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรแปลงใหญ่ พื้นที่ 300 ไร่ จำนวน 4 แห่ง 3.โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรแปลงใหญ่ พื้นที่ 500 ไร่ จำนวน 3 แห่ง 4. โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อความมั่นคงระดับชุมชน จำนวน 2 แห่ง 5. โครงการจัดหาแหล่งน้ำบาดาลระยะไกลเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่แล้งซ้ำซากหรือน้ำเค็ม จำนวน 2 แห่ง

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความห่วงใยความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน และต้องการให้ประชาชนมีโอกาสสร้างอาชีพตลอดทั้งปี มีรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุข จึงได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะด้านบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อให้ประชาชนมีน้ำสำหรับการอุปโภค บริโภคที่เพียงพอ ผ่านโครงการจัดหาแหล่งน้ำบาดาลระยะไกลเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่ขาดแคลนน้ำหรือน้ำเค็ม

 

ซึ่งกรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้ดำเนินการเจาะและพัฒนาบ่อน้ำบาดาลในพื้นที่บ้านถ่อนใหญ่แห่งนี้ น้ำบาดาลก็มีศักยภาพเหมาะสมและเพียงพอ พร้อมก่อสร้างระบบประปาบาดาลด้วยเทคโนโลยีการส่งน้ำระยะไกล เพื่อกระจายน้ำส่งให้แก่พื้นที่เป้าหมายที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำหรือมีปัญหาด้านคุณภาพน้ำ และในอนาคตได้สั่งการให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลดำเนินการต่อท่อกระจายน้ำเพิ่มเติมไปอีก 2 หมู่บ้าน คือบ้านดอนแตง และบ้านเหล่าสีจาน เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้มีน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภคที่เพียงพอและเกิดประโยชน์สูงสุด

 

 

 

จากนั้น นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายภาดล ถาวรกฤชรัตน์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล พร้อมคณะ ได้แจกแกลอนน้ำให้กับประชาชน พร้อมกับทำพิธีเปิดน้ำบาดาลให้ประชาชนใช้อย่างเป็นทางการ ซึ่งน้ำบาดาลที่มีความใสได้ไหลลงถังรถดับเพลิงเทศบาลตำบลนาข่า ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมรู้สึกพอใจที่น้ำบาดาลไหลแรงและมีความใสสะอาด

 

*รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า วันนี้มาเปิดแหล่งน้ำบาดาลระยะไกลเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่ขาดแคลนน้ำหรือน้ำเค็ม ให้กับตำบลน่าข่า ซึ่งจะมีพื้นที่จะได้ใช้ 2 หมู่บ้าน และมาดูแนวทางในการขยายระบบประปา ขยายท่อ ไปอีก 2 หมู่บ้าน ซึ่งคิดว่าจะทำให้ประชาชนได้มีน้ำกิน น้ำใช้ ครบถ้วนสมบูรณ์ อีกประเด็นคือเรื่องของค่าไฟ ที่ทราบว่าค่าไฟแพง การจัดเก็บยังไม่คุ้มทุน จึงมาดูส่วนของโซล่าเซลล์ของกรมพลังงานมาช่วยเพื่อจะลดค่าไฟลงให้เหลือเดือนละ 1 หมื่น หรือ1หมื่นกว่าบาท จากทุกวันนี้เสียเดือนละ 2 หมื่นกว่าบาท เพื่อจะนำเงินส่วนนี้ไปเข้ากองทุน เพื่อดูแลบูรณะในส่วนค่าสึกเหรอของอุปกรณ์ ซึ่งเราจะดำเนินการแบบนี้ไปทุกที่ที่ขาดแคลนน้ำ น้ำกิน น้ำใช้ โดยกรมน้ำบาดาลจะเข้าไปเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ ในส่วนพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำกรมทรัพยากรน้ำจะเข้าไปเสริม

 

“ส่วนเรื่องภัยแล้งและไฟป่าจะมาใกล้เคียงกัน เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งทำให้เกิดไฟป่าขึ้นก่อนกำหนด ซึ่งเรามาตรการในการป้องกันไฟป่าตั้งแต่เดือนตุลาคม ซึ่งรัฐบาลได้ให้งบประมาณเข้ามาดูเรื่องไฟฟ้า ซึ่งได้ Kickoff ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน และธันวาคม และใช้งบประมาณกลางในวันที่ 30 มกราคม ที่จ.เชียงใหม่ เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ เป็นต้นไป คิดว่าตั้งแต่การดำเนินการมาตรการตั้งแต่ต้นปี เรื่องไฟป่าเราสามารถที่จะดูแลให้อยู่ในขอบเขตที่เราควบคุมได้ จะมีอัตราลดลง ซึ่งได้ตั้งเป้าไว้ที่ 30 เปอร์เซ็นต์ แต่ว่าวันนี้ฝากพี่น้องประชาชนเรื่องของการเผาเศษวัสดุอุปกรณ์การเกษตรทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ตอซังข้าว ตอข้าวโพด อ้อย เพราะวันนี้สิ่งต่างๆ ทำให้เกิด PM 2.5 ทั้งสิ้น ส่วนของไฟป่าของกระทรวงทรัพยากรฯ รับผิดชอบ ก็จะพยายามคุมให้อยู่ในจุดที่ไม่ให้เป็นอันตราย”

 

 

ภาพ/ข่าว กฤษดา จันทร์ดวง ผู้สื่อข่าว จ.อุดรธานี