อพท.เลย จัดกิจกรรมแปลงมุมคิด GSTC สู่วิถีปวนพุผลักดันภูป่าเปาะเป็น ท้อป 100 แหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ของโลก

เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 20 กรกฎาคม 2566 ณ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวภูป่าเปาะ บ้านผาหวาย หมู่ 3 ต.ปวนพุ อ.หนองหิน จ.เลย นายณรงค์ จีนอ่ำ รอง ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เป็นประธานในพิธีเปิด” กิจกรรมแปลงมุมคิด GSTC สู่วิถีปวนพุ“ มีคุณ กฤติชฎา บุญล้อมรัตน์ นายอำเภอภูหลวง นายจริยาทร สูหู่ ผอ.ททท.สำนักงานเลย นายบุญลือ พรหมหาลา ประธานชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ภูป่าเปาะ ส่วนราชการจังหวัดเลย ระดับอำเภอหนองหิน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ผู้นำชุมชน/หมู่บ้าน นักท่องเที่ยวและประชาชน ร่วมในกิจกรรมจำนวนมาก

 

 

นายธรรมนูญ ภาคธูป ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษ 5 กล่าวรายงานว่า ตามที่จังหวัดเลยได้กำหนดให้การท่องเที่ยวเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการพัฒนา โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดเลยให้ได้มาตรฐานในระดับสากล และมุ่งสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยการนำหลักเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก หรือที่เราเรียกว่า เกณฑ์ GSTC มาเป็นแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และเมื่อปี 2562 ได้กำหนดให้พื้นที่ตำบลเชียงคาน เป็นพื้นที่ต้นแบบในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามเกณฑ์ GSTC และอพท. ได้ร่วมกับหน่วยงานทั้งในระดับจังหวัด และพื้นที่ และภาคประชาชน ผู้ประกอบการในพื้นที ร่วมกันขับเคลื่อน จนในที่สุดในปี 2563 เชียงคานได้รับการจัดอันดับเป็นแหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน 100 แห่งของโลก หรือ Sustainable Destinations Top100 ประจำปี 2563 ซึ่งถือเป็นเป้าหมายหนึ่งในความสำเร็จของการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

 

 

 

 

โดยในปี 2566 นี้ สำนักงานพื้นที่พิเศษ 5 (อพท.5) ได้คัดเลือกพื้นที่ ต.ปวนพุ อ.หนองหิน จ.เลย เป็นพื้นที่ต้นแบบ (n) การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามเกณฑ์ GSTC ซึ่งถือเป็นพื้นที่แห่งที่ 2 ของจังหวัดเลย ที่ขยายผลการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามเกณฑ์ GSTC โดยกิจกรรมแปลงมุมคิด GSTC สู่วิถีปวนพุที่จัดในวันนี้ ถือเป็นการเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในการร่วมกันขับเคลื่อน ต.ปวนพุ สู่การพัฒนาเป็นพื้นที่ต้นแบบด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยการจัดกิจกรรมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ เพื่อสร้างการรับรู้ในพื้นที่ถึงการขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวของ ต.ปวนพุ ตามแนวทาง GSTC และ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและบูรณาการพัฒนาพื้นที่ในการร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวตามหลักเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (GSTC)

 

 

โดยผู้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ ประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และภาคประชาชน ทั้งในระดับจังหวัด และระดับพื้นที่ จำนวนกว่า 100 คน โดยกิจกรรมในวันนี้ จะเริ่มต้นจากการสร้างความรู้ความเข้าใจในแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามเกณฑ์ GSTC โดยได้รับเกียรติจาก นายพรพล น้อยธรรมราช ผู้ฝึกอบรมที่ได้รับอนุญาตจาก GSTC (GSTC Authorized Trainer) เป็นวิทยากรในการบรรยาย หลังจากนั้นในช่วงบ่ายจะเป็นกิจกรรม Workshop การประเมินตนเอง (SAR) ตามแนวทางเกณฑ์ GSTC ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการเช็คอุณหภูมิสถานะความยั่งยืนของพื้นที่ตำบลปวนพุ เพื่อเป็นข้อมูลฐานในการวางแผนการพัฒนาในพื้นที่ รวมทั้งจะมีการร่วมกันออกแบบจุดเน้น (Destination Positioning) ของพื้นที่ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคนเพื่อร่วมกันให้ข้อมูล และร่วมกันแสดงความคิดเห็น

 

 

 

 

 

ซึ่งนับต่อจากนี้ ทาง อพท.5 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวของ ต.ปวนพุ โดยสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนจะสำเร็จได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะพี่น้องชาว ต.ปวนพุ ในการนี้ ในนามผู้จัด หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ จะเป็นหนึ่งกลไกที่สำคัญที่นำไปสู่การรวมพลังของทุกภาคส่วน ที่ร่วมกันคิด ร่วมกันออกแบบทิศทางการพัฒนา และสร้างบ้านของพวกเราให้เป็นบ้านที่น่าอยู่ และมุ่งสู่เป้าหมายร่วมกันในการเป็นพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนต่อไป

นายบุญลือ พรหมหาลา ประธานชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ภูป่าเปาะ เปิดเผยว่า เราเริ่มจัดการท่องเที่ยวมาเมื่อปี 2554 –มีกรรมการบริหาร 12 คนด้วยน้ำแรงน้ำใจของประชาชน 285 ครอบครัวเข้สาร่วม 275 ครอบครัวแล้ว ปี 2559 ยอด นทท.สูง 150,000 คน มาปี 2565 มี 80,000 คน สร้างรายได้แก่ประชาชนไม่ต่ำกว่า 700 บาท/คน/วัน เพราะเราเปิดบริการทั้งปี มีรถอีแต็กร่วมโครงการ 84 คัน ก่อนนี้เก็บค่าบริการขึ้นภูป่าเปาะขึ้น-ลง 60 บาทคน มาปีนี้เก็บ 80 บาท /คนเพราะต้องบวกค่าประกันชีวิตให้ทุกคน ด้วย เป็นงานที่มั่นคงสร้างความเข้มแข็งในชุมชนโดยรวม ส่าวนทางราชการ อบจ.ก็มาช่วยในด้านอาคาร สถานที่ศูนย์บริการ, อพท.5 มาช่วยด้านการจัดการรายได้ การเงิน สิทธิประโยชน์ สวัสดิการและด้านกฎหมาย และ ททท.สนง.เลย เข้ามาสนับสนุนด้านการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ต่างๆ ตนเห็นว่าการที่จะได้รับจากคณะกรรมการตรวจประเมินเป็น 1 ใน 100 แหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของโลกต่อจาก อ.เชียงคานที่ได้รับปี 2562 นั้นที่ภูป่าเปาะแห่งนี้เสนอเป็นแห่งที่ 2 ของ จ.เลย น่าจะเหมาะสมมากครับ.

 

ภาพ/ข่าว บุญชู ศรีไตรภพ จ.เลย ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.เลย