HD_web_ข่าวเด่นทั่วไทย-03-removebackground

นายกสมาคมฯ ไก่ ชี้ยุบสภาเลือกตั้งใหม่คือความหวังของคนไทยแนะเลือกอนาคตตัวเองอีกครั้ง

(วันที่ 24 มี.ค 2566 ) ดร.ฉวีวรรณ คำพา นายกสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และประธานกรรมการบริหาร บริษัทในเครือฉวีวรรณ กรุ๊ป ผู้ส่งออกเนื้อไก่ไทยรายใหญ่ของไทย เผยถึงการประกาศยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเดือน พ.ค.66 ถือเป็นความหวังที่คนไทยจะได้มีโอกาสได้เลือกอนาคตของตัวเองอีกครั้งว่าจะย่ำอยู่กับที่ หรือร่วมกันเปลี่ยนแปลงประเทศให้ก้าวทันการเปลี่ยนไปของโลก
พร้อมยังบอกอีกว่าในช่วง 8 ปีที่ผ่านมาคนไทยต้องเผชิญกับความลำบากทั้งวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 และเศรษฐกิจที่ตกต่ำอย่างหนัก ไม่เพียงเท่านั้นระบบการศึกษาไทยยังย่ำแย่ถึงขีดสุด ซึ่งปัญหาทั้งหมดมาจากระบบอุปถัมภ์ที่ถูกนำมาใช้ในการต่อรองเก้าอี้รัฐมนตรี โดยไม่คำนึงถึงความรู้ความสามารถ สุดท้ายจึงสร้างปัญหาให้กับคนไทยทั้งประเทศ

ไม่นับรวมการคอร์รัปชั่นที่เกิดขึ้นอย่างหนักจนกลายเป็นการสร้างวัฒนธรรมใหม่ระหว่างองค์กรของรัฐกับเอกชน ว่าหากไม่จ่ายงานก็เดินไม่ได้
การเลือกตั้งใหม่ในเดือน พ.ค.คนไทยจะได้กลับมาเป็นเจ้านายของนักการเมืองอีกครั้ง แต่ในครั้งนี้ประชาชนจะต้องเลือกคนเข้าทำงานในสภาฯ อย่างมีสติ ต้องคิดให้ดีว่านโยบายที่นักการเมืองประกาศไว้ทำได้จริงหรือไม่ เพราะในวันนี้สถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงไปมากคนไทยจึงต้องมีสติและฉลาดไม่ใช่เห็นแก่เงินแล้วกาเบอร์ที่จ่ายและสุดท้ายก็ต้องมาทนทุกข์กันอีก 4 ปี ”

ดร.ฉวีวรรณ ยังบอกอีกว่าบทเรียนที่คนไทยได้รับจากนักการเมืองในช่วง 8 ปีที่ผ่านมานอกจากระบบการศึกษา เศรษฐกิจและการคอร์รัปชั่นแล้วหากใครได้มีโอกาสเดินทางไปยังพื้นที่ห่างไกลและทุรกันดารจะเห็นได้ว่า ระบบสาธารณสุขทั้งในระดับหมู่บ้าน ตำบล หรือแม้แต่ระดังจังหวัดบางแห่งก็ย่ำแย่และไม่ได้รับการเหลียงแลจากภาครัฐ
“ จากการลงพื้นที่ต่างๆ ที่ผ่านมาเห็นได้เลยสถานีอนามัยประจำตำบล หรือโรงพยาบาลประจำจังหวัดบางแห่งไม่มีความเจริญ ดังนั้นรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาดูแลประเทศต้องเข้ามาดูและให้ความสำคัญในส่วนนี้ด้วย ไม่ใช่ปล่อยให้ผู้มีอันจะกินในพื้นที่หรือประชาชนด้วยการจัดหางบประมาณมาช่วยกันเอง ”ส่วนกรณีที่มีผู้ประกอการจำนวนมากถามถึงนโยบายของพรรคการเมืองหนึ่งที่ประกาศจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาทต่อวันนั้น ดร.ฉวีวรรณ เผยว่าภาวะเงินเฟ้อของไทยรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ราคาสินค้าต่างพุ่งสูงขึ้นไม่น้อยกว่า 30-40% ดังนั้นการปรับขึ้นค่าแรงจึง จำเป็น แต่พรรคการเมืองที่ประกาศนโยบายไว้จะต้องมีวิธีในการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้เอกชนมีความสามารถในการสร้างรายได้เพื่อจะได้มีเงินจ่ายค่าแรง ”

“ ในวันนี้ค่าไฟ- ค่าน้ำมันแพงขึ้นมากจนทำให้ค่าใช้จ่ายของบริษัทต่างๆ พุ่งตามไปด้วย ก็ไม่รู้ว่าเหตุใดรัฐบาลจึงคิดนโยบายเรื่องการผลักภาระค่าพลังงานให้กับประชาชนแบกรับเช่นนี้ ยกตัวอย่างบริษัทในกลุ่มฉวีวรรณ กรุ๊ป ค่าไฟเดิมอยู่ที่เดือนละ 20 ล้านบาท แต่เดือนนี้ค่าไฟพุ่งเป็น 26 ล้านบาท ไหนจะต้องแบกค่าแรงงานที่เพิ่มขึ้นซึ่งหากเราไม่รู้วิธีการปรับตัวให้อยู่รอดก็คงไม่รู้ว่าจะหาเงินที่ไหนไปจ่ายค่าไฟ”

ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 66 ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้นเหตุได้จากการส่งออกไก่ในช่วงเดือน ธ.ค.65- ก.พ.66 ซึ่งเป็นช่วงโลว์ซีซันยอดการสั่งซื้อลดลงจนแทบไม่มี แต่มาถึงวันเมื่อเข้าสู่ช่วงไฮซีซันที่สินค้าส่งออก ได้ราคาก็ไม่ปรับขึ้นตามเพราะหลายประเทศทั่วโลกเริ่มประหยัด
“ วันนี้ภาคเอกชนต้องการรัฐบาลใหม่ที่มีนโยบายทางเศรษฐกิจที่สามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการได้ไม่ใช่ส่ง รมต.ไปประชุมกับต่างชาติก็ขายสินค้าไม่เป็น เขาเสนออะไรมาก็เอาหมดจนถูกเอาเปรียบ ที่สำคัญรัฐบาลใหม่ต้องสามารถแก้ปัญหาเรื่องค่าไฟแพงได้เพราะถือเป็นต้นทุนใหญ่ของผู้ประกอบการ” ดร.ฉวีวรรณ กล่าว