ฮือฮา พบควายออกลูกคล้ายสุนัขพันธุ์ปั๊ก ชาวบ้านเชื่อว่ามาให้โชค

วันที่ 1 พ.ค. 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่ามีชาวบ้านแห่ขอโชคลาภจากควายเผือกเพศผู้ หน้าคล้ายสุนัขสายพันธ์ปั๊ก ซึ่งเมื่อ 2 วันที่ผ่านมามีควายเพศเมียตัวหนึ่งได้คลอดลูกออกมาเป็นควายเผือกรูปร่างคล้ายสุนัขพันธุ์ปั๊ก หลังมีข่าวแพร่ออกไปเช่าบ้านต่างเฮฮาและแห่มาขอโชคลาภกันอย่างคึกคัก        

“อนุชา” ลงพื้นที่พบสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน เยี่ยมชมผลผลิตวัวพันธุ์ไทยยอดนิยม “โคราชวากิว”

เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2566 เวลา 13.00 น. ที่ฟาร์มมหาวิทยาลัยโนโลยีสุรนารี (ฟาร์มโคเนื้อวากิว) ตำบลสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรัฐมนตรีที่กำกับดูแลสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) เป็นประธานเปิดงาน “สร้างเศรษฐกิจฐานราก สร้างชาติมั่นคง” ภายใต้โครงการเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก เพื่อการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยมี นายศุภนิมิต เปาริก รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นายเบญจพล นาคประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ นายธัชชญาณ์ณัช เจียรธนัทกานนท์ เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายชนะศักดิ์ อัตถาวงศ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หัวหน้าส่วนราชการ สมาชิกกองทุนหมู่บ้าน ฯ และสื่อมวลชนเข้าร่วมงาน   นายอนุชา กล่าวว่า การลงพื้นที่ มาดูผลผลิตวัวพันธุ์ไทยยอดนิยม “โคราชวากิว” รู้สึกดีใจแทนเกษตรกรผู้เลี้ยงวัว ได้เห็นถึงอนาคตของลูกหลานผู้เลี้ยงวัว ที่จะมีโอกาสร่ำรวยจากการเลี้ยงวัว ไม่ต้องเดินทางไปทำงานต่างถิ่น โดยเฉพาะพี่น้องภาคอีสาน ซึ่งมีพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงโค และวันนี้ถือเป็นเรื่องที่ดี ที่ประเทศไทยจะมีอาคารปฎิบัติการชำแหละและตัดแต่งเนื้อโคมาตรฐาน GMP และฮาลาลเพื่อการส่งออก […]

ชาวบ้านแห่ไหว้ศาลปู่ตาขอฝน ก่อนฤดูกาลทำนา พร้อมส่องหาเลขเด็ดเสี่ยงโชคกันคึกคัก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2566  ในช่วงเดือน 6 ขึ้น 6 ค่ำ ของทุกๆปีจะพบว่า ชาวสุรินทร์มักจะนำเครื่องเซ่นไหว้ จำพวกไก่ต้ม หรือไข่ต้ม ตลอดจนหัวหมู เครื่องดื่มและอาหารคาวหวาน นำไปเซ่นไหว้ศาลปู่ตา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านเคารพนับถือ ประจำหมู่บ้านแต่ละพื้นที่ เพื่อเป็นสิริมงคลตลอดจนขอฟ้าขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล ก่อนถึงฤดูกาลทำนา ซึ่งชาวนาจะเริ่มไถนาและหว่านข้าวกันแล้ว   และปีนี้ตรงกับตรงกับวันอังคารที่ 25 เดือน 6 ขึ้น 6 ค่ำ พบได้มีชาวบ้าน ในหมู่บ้านแก ม.9 ต.หนองขวาว อ.ศีขรภูมิ  จ.สุรินทร์ ต่างได้นำไก่ต้ม ไข่ต้ม ตลอดจนของเซ่นไหว้จำพวกสุรา เบียร์ น้ำส้ม น้ำหวาน ตลอดจนข้าวเหนียวปั้น พร้อมอาหารคาวหวาน มาเพื่อไหว้ศาลปู่ตา ตามความเชื่อของชาวบ้านที่ปฏิบัติสืบทอดกันมายาวนานจนถึงปัจจุบัน        

เขตเลือกตั้ง 13 โคราชแข่งขันเดือด ผู้สมัครพลังประชารัฐ มาแรงหวังแซงทางโค้ง เชื่อ ปชช.ต้องการเปลี่ยนแปลง

วันที่ 26 เมษายน 2566 ศึกเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาทั้ง 16 เขต ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเขต เลือกตั้งที่ 13 ประกอบไปด้วยอำเภอสีคิ้ว อำเภอปากช่อง เฉพาะตำบลวังไทร ตำบลคลองม่วง ตำบลวังกะทะ และตำบลโป่งตาลอง ถือว่าเป็นถิ่นของเพื่อไทย ที่ปักธงได้หลายสมัย แต่งวดนี้จะเป็นการขับเขี้ยวระหว่าง นายพชร จันทรรวงทอง บุตรชายของนายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการเพื่อไทย ลงมาบัญชาเกม พบกับ นายสุกฤษณ์ วัชรมาลีกุล เด็กในคาถาของ นายวิรัช รัตนเศรษฐ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ที่ลงมาช่วยอย่างเต็มที่ และต้องการที่จะปักธงในพื้นที่นี้ นายสุกฤษณ์ (ป้อม) วัชรมาลีกุล ผู้สมัคร ส.ส.เบอร์ 7 พรรคพลังประชารัฐ ได้ปราศรัยหาเสียง ให้กับประชาชนในพื้นที่อำเภอสีคิ้ว ตำบลคลองไผ่ กว่า 1,000 คน เพื่อแนะนำตัวและให้รับทราบถึงนโยบาย ที่จะมาช่วยคนในพื้นที่ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากประชาชนมีการนำพวงมาลัยมาคล้องคอพร้อมดอกกุหลาบมอบให้ เพื่อเป็นกำลังใจเพราะต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลง       […]

“วิรัตน์” ผู้สมัคร ส.ส.เขต 14 โคราช พรรคพลังประชารัฐ อาสาพัฒนาเมืองปากช่อง หน้าด่านอีสาน

วันที่ 26 เมษายน 2566 การเลือกตั้ง ส.ส.จังหวัดนครราชสีมาทั้ง 16 เขต ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากว่ามี ส.ส.มากที่สุด รองจากกรุงเทพมหานคร ทำให้หลายพรรคการเมือง ต้องการที่จะปักธงในพื้นที่ โดยเฉพาะเขต 14 ประกอบไปด้วย 8 ตำบลอาทิ ตำบลกลางดง ตำบลขนงพระ ตำบลจันทึก ตำบลปากช่อง ตำบลพญาเย็น ตำบลหนองน้ำแดง ตำบลหนองสาหร่ายและตำบลหมูสี ถือว่าเป็นเขตพื้นที่จุดยุทธศาสตร์ทางเข้าออกจังหวัดนครราชสีมา โดยเฉพาะผู้สมัครที่ชื่อนายวิรัตน์ วาริชอลังการ ผู้สมัคร ส.ส.เบอร์ 4 พรรคพลังประชารัฐ พร้อมด้วยทีมงาน ได้ลงพื้นที่ ตลาดอำเภอปากช่อง เพื่อแนะนำตัวและนโยบายของพรรคฯที่จะทำหากได้เป็นรัฐบาล และสานต่อโครงการเดิม เพื่อช่วยปัญหาเรื่องของปากท้อง โดยเฉพาะโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ            

ชาวบ้านที่ชัยภูมิ พากันแห่ทำพิธีเซ่นไหว้ศาลปู่ตาประจำหมู่บ้าน เพื่อขอฝนสู้แล้ง พร้อมขอโชคลาภ

วันที่  26 เม.ย.2566  ขณะที่จ.ชัยภูมิ สถานการณ์ภัยแล้งปีนี้เริ่มส่งสัญญาณมาเยือนแล้ว ทำให้ชาวบ้านในหลายพื้นที่เริ่มขาดแคลนน้ำเพื่อประกอบอาชีพทำการเกษตรตามมาอีกจำนวนมาก ขณะที่บริเวณศาลเจ้าพ่อกำนันอ้อง ในหมู่บ้านกระจวน หมู่ 4 ต.โคกสะอาด อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ ได้มีชาวบ้านกว่า 200 คน ทั้งผู้ใหญ่และเด็กต่างนำเครื่องเซ่นไหว้ ดอกไม้ ธูปเทียน หมากพลู อาหารคาวหวาน มารวมกันที่บริเวณศาลปู่ตาประจำหมู่บ้านดังกล่าว เพื่อร่วมกันทำพิธีไหว้บวงสรวงขอพรกันจำนวนมากต่อเนื่องไม่ขาดสาย เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตนเองต้องการมากที่สุดในปีนี้ คืออยากให้ฝนตกลงมาช่วยเติมน้ำในสระ คู คลอง ภาชนะเก็บกักที่มีในชุมชน ซึ่งช่วงนี้ที่เริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูแล้งเต็มตัวแล้วเริ่มทำให้ประชาชนในพื้นที่ขาดแคลนน้ำเพื่อประกอบอาชีพทางการเกษตร การอุปโภค บริโภค เนื่องจากที่ผ่านมาในชุมชนแห่งนี้แล้งหนักมาต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ไม่มีฝนตกลงมาเติมน้ำตามแหล่งน้ำเก็บกักที่มีทั้งหมดไว้ได้เลย ทำให้ชาวบ้านต้องนำสิ่งของตามความเชื่อและต้องทำเป็นประเพณีปฏิบัติกันมายาวนานด้วยการพากันออกมาทำพิธีเซ่นไหว้ศาลปู่ตาประจำหมู่บ้านแห่งนี้มาเป็นประจำทุกปี ซึ่งในปีนี้ต้องมีการพากันออกมาทำพิธีเร็วกว่าทุกปี เพื่อกราบไหว้ขอพรขอโชคลาภ ให้ฝนได้ตกลงมาเร็วขึ้นกว่าทุกปี      

พายุฤดูร้อน ซัดถล่มเมืองเลย 4 วันติด บ้านเรือน ต้นไม้ใหญ่หักขวางถนน ไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้าง

เมื่อเวลา 19.00 -23.30 น. วันที่ 25 เม.ย.2566 มีรายงานพายุฤดูร้อนในช่วงนี้ว่า ในช่วงค่ำจนถึงกลางคืนของวันนี้ เกิดภัยธรรมชาติหรือพายุฤดูร้อนซัดกระหน่ำเมืองเลยหลายอำเภอ เช่น อ.เมืองเลย อ.ปากชม อ.เชียงคาน อ.นาด้วง อ.วังสะพุง และ อ.เชียงคาน ส่วนใหญ่สิ่งที่ได้รับผลกระทบจากวาตภัย ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง พายุลูกเห็บ ได้แก่ ต้นไม้ใหญ่หักโค่นทับสายไฟฟ้า ทับถนนกรีดขวางการจราจร บ้านเรือนราษฎร เกือบ 80 หลัง ที่ถนนสายเมืองเลย-เชียงคาน ถนนสายเมืองเลย-นาด้วง สาย เมืองเลย-ปากชม ทำให้ระบบไฟฟ้าถูกตัดขาดไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้างโดยเฉพาะ อ.ปากชม และ อ.เชียงคาน ไฟไหม้เสาไฟฟ้าบ้านนาโป่ง ต.นาโป่ง อ.เมืองเลย          

หนึ่งเดียวในภาคอีสาน ชาวไทดำบ้านนาป่าหนาด กับการประยุกต์เรื่องความเชื่อ

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 25 เม.ย. 2566 ครบรอบ 211 ปี ที่ผู้สื่อข่าวเคยรายงานเกี่ยวกับวัฒนธรรมด้านความเชื่อของ”ไทดำบ้านนาป่าหนาด” หรือชาวบ้านเรียกว่า”บ้านโคกซ่งดำ” ต.เขาแก้ว อ.เชียงคาน จ.เลย หนึ่งเดียวของจังหวัดเลยและภาคอีสาน ชาวไทดำบ้านนาป่าหนาดเป็นหมู่บ้านที่มีประชากรเชื้อสาย “ไหดำ” หรือไทดำ หมู่บ้านเดียวใน จนกว่าจะนำศพไปยังป่าช้าให้เรียบร้อยก่อน จึงจะเริ่มงานใหม่ที่ยังคงมีการสืบสานประเพณีไว้อย่างเคร่งครัดห้าม เด็กทุกคนดูศพ รวมทั้งห้ามทำงานทุกอย่างเด็ดขาด เหตุผลที่ไม่ให้มีการมีเอกลักษณ์สำคัญคือ ว่า จะเป็นลางร้ายเพราะเวลาที่หามศพไปป่าช้า เพราะชาวบ้านมีความเชื่อกันประชากรในหมู่บ้านนี้มีเชื้อสายเป็นไทดำ”บ้านโคกโซงดำ” ในหมู่บ้านบ้านนาป่าหนาดชาวไทดำจะแต่งกายด้วยชุดสีดำ ลักษณะการตั้งบ้านเรือนนิยมปลูกบ้านประจำเรียงรายตามถนภายในหมู่บ้าน ชาวนาป่าหนาดมีสุสานประจำ      

ชาวบ้านพลิกวิกฤตภัยแล้ง ออกร่อนหาทองในแม่น้ำโขงมาขาย สร้างรายได้เสริม

สถานการณ์ภัยแล้งเริ่มส่งผลกระทบกับประชาชนในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะที่ จ.หนองคาย ระดับน้ำในแม่น้ำโขงลดลงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด (25 เม.ย.66) อุทกวิทยาหนองคาย กรมทรัพยากรน้ำ วัดระดับน้ำในแม่น้ำโขง ได้ 82 เซนติเมตร และพบว่ายังมีแนวโน้มที่น้ำจะลดระดับลงอย่างต่อเนื่อง หลังไม่มีฝนตกลงมาในพื้นที่ แม้จะมีพายุเกิดขึ้นบ้างแต่ส่วนใหญ่เป็นลมกระโชกแรง ซึ่งปริมาณฝนไม่เพียงพอที่จะเพิ่มระดับน้ำในแม่น้ำโขงได้        

คลั่งหลอนยา โกรธน้องโทรบอกแม่ จุดไฟเผาบ้านวอดทั้งหลัง

เมื่อเวลา 08.55 น. วันที่ 25 เม.ย. 2566 นางพรนภา เขียนวงศ์ ผู้ใหญ่บ้านหนองโนใต้ ต.น้ำคำ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ ได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่า เกิดเหตุไฟไหม้บ้านที่ หมู่ 14 บ้านหนองโนใต้ จึงได้แจ้งให้ศูนย์วิทยุ 191 ทราบและแจ้งให้เทศบาลตำบลน้ำคำ รีบนำรถดับเพลิงมาทำการดับไฟที่กำลังโหมลุกไหม้อย่างรุนแรง โดยมีชาวบ้านมาช่วยกันดับไฟกันอย่างโกลาหล เนื่องจากว่า บ้านที่เกิดเพลิงไหม้อยู่ติดกับบ้านหลายหลัง เกรงว่าไฟจะลุกไหม้ลามไปบ้านใกล้เคียง ใช้เวลาประมาณ 45 นาที จึงสามารถควบคุมเพลิงเอาไว้ ปรากฏว่าไฟได้ไหม้บ้านวอดทั้งหลัง ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ ตร.สภ.เมืองศรีสะเกษ ได้ควบคุมตัวชายที่ก่อเหตุวางเพลิงเอาไว้ได้