จับเรือประมงเวียดนาม 2 ลำลูกเรือ 10 คน ลักลอบเข้ามาคราดปลิงทะเล

วันที่ 10 ก.พ. พ.ศ. 2567 ให้คุณทราบอีกครั้งที่ภาคที่ 2 เพื่อรับข่าวจากข่าวทหารเรือและศรชล.ภาค 2 ว่าจะมีกลุ่มเรือประมงเข้ามาเยี่ยมชมการประมงในน่านน้ำไทยที่มีการแบก 068 ระยะ 63.5 สำรวจจากปากร่องน้ำ สขลาซึ่งอยู่ในเขตทะเลและจากนั้น พลเรือโทพิจิตต ศรีรุ่งเรือง กัปตันเรือภาคที่ 2 ได้สั่งการให้เครื่องบินตรวจทานอาหารที่ชี้เป้า พื้นที่ส่วนกลางกับเรือหลวงคลองใหญ่ในส่วนที่เปิดเผย พิสูจน์ทราบโดยในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.30 น. . สำรวจเรือประมงในเวียดนามหลายประเภท 2 ลำเป็นเรือคราดปลิงทะเลซึ่งกำลังลักลอบตรวจสอบทำการประมงเรือหลวงคลองใหญ่เข้าสู่ระบบได้เข้าประจำการของบริษัทโดยลำที่ 1 ได้ภายในทะเลที่มีการตกปลา 066 ระยะ 70 สำรวจจากทุ่นไฟปากร่องน้ำสงขลา พร้อมผู้ควบคุมเรือและลูกเรือจำนวน 5 คน (ลูกเรือจำนวนมาก 1 คนโดนเตือนเกี่ยวกับบริเวณเท้า) สำหรับลำที่ 2 โครงสร้างได้ในเขตน่านน้ำภายในการสำรวจ 085 ระยะ 76 ท่าเรือจากทุ่นไฟปากร่องน้ำสงขลาพร้อมผู้ควบคุมเรือและลูกเรือ จำนวน 5 คนและจากนั้นเรือหลวงคลองใหญ่ได้ควบคุมเรือประมงเวียดนาม(ของกลาง) ทั้ง […]

“พิพัฒน์”รมว.แรงงาน ตรวจเยี่ยมโรงไฟฟ้าขนอม สถานประกอบการโครงการแรงงานพันธุ์ดี

วันที่ 8 ก.พ.  2567  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด  อ.ขนอม  จ.นครศรีธรรมราช นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงไฟฟ้าขนอม โดยมีนายศรีธรรม ราชแก้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช นายณเรศ ชูเกิด กรรมการผู้จัดการ บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายภุชงค์ วรศรี ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงแรงงาน นายภูมิพัฒน์ เหมือนจันทร์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) ผู้บริหารกระทรวงแรงงาน หัวหน้าส่วนราชการหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานในพื้นที่ สหภาพแรงงาน อาสาสมัครแรงงาน และผู้นำชุมชนร่วมให้การต้อนรับ

วันจ่ายตรุษจีนคึกคัก

วันที่  8 ก.พ. 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  ที่ตลาดทรัพย์สินพลาซ่าสงขลา อ.เมือง จ.สงขลา ชาวไทยเชื้อสายจีนออกมาจับจ่ายซื้อของเซ่นไหว้เพื่อเตรียมไหว้พระและบรรพบุรุษในช่วงเทศกาลตรุษจีนในวันพรุ่งนี้กันอย่างคึกคัก โดยในการจับจ่ายซื้อของเซ่นไหว้ในปีนี้ชาวไทยเชื้อสายจีนจะซื้อเฉพาะสิ่งของที่จำเป็นสำหรับนำไปเซ่นไหว้เท่านั้น เนื่องจากเจอสภาพเศรษฐกิจและราคาสิ่งของเซ่นไหว้มีการปรับราคาขึ้น บางชนิด โดยราคาไก่ ซึ่งเป็นตัวหลักในการไหว้พระและบรรพบุรุษ ยังคงขายดีปีนี้ราคาไก่ปรับสูงขึ้น ไก่พื้นเมืองไหว้เจ้า กก.ละ 180 บาท ไก่เนื้อไหว้เจ้า กก.ละ 90 บาท ส่วนหมูสามชั้นปรับขึ้นเป็น กก.ละ 220 บาท เนื้อแดง กก.ละ 170 บาท หัวหมูไหว้เจ้าที่ต้มสุกแล้วจะบวกค่าต้ม 50 บาท ราคาหัวแต่ละหัวขึ้นอยู่กับน้ำหนักเฉลี่ยอยู่ที่หัวละ 650 บาท  

สาธารณสุขจังหวัดตรัง เตือนประชาชน ระมัดระวังอาการป่วยโรคทางเดินอาหาร

วันที่  7 ก.พ. 2567  นพ.สินชัย รองเดช นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตรัง พร้อมด้วย นพ.ชรนันท์ ถิ่นนัยธร รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตรัง และนายธวัชชัย ล้วนแก้ว หัวหน้ากลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง แถลงพบผู้ป่วยติดเชื้อโนโรไวรัสหรือโรคติดเชื้อทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นโรคติดต่อจากคนสู่คน ผ่านทางทางเดินอาหาร โดยรับเชื้อจาก น้ำ และ อาหาร ละอองฝอย เช่น ละอองฝอยอาเจียน ละอองฝอยของน้าในส้วม ขณะราดน้า หรือ กดชักโครก สิ่งของ จำนวนไวรัส 1 – 10 ตัว สามารถก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษได้ปริมาณอุจจาระ 1 กรัม อาจมีไวรัสได้มากกว่า 1 พันล้านตัว(1) ระยะฟักตัว : 10-50 ชั่วโมง โดยส่วนใหญ่ 24-48 ชั่วโมง ระยะติดต่อ : ตั้งแต่เริ่มมีอาการ จนถึง 48 ชั่วโมงหลังหยุดถ่าย อาจพบในอุจจาระของผู้ป่วยได้นานถึง […]

เทศบาลเมืองเบตง เปิดรับสมัคร ส.ท. แทนตำแหน่งที่ว่างลง

วันที่  7  ก.พ. 2567 บรรดาผู้สมัครสมาชิกสภาเทศบาลเมืองเบตง เขตเลือกตั้งที่ 3 ต่างเดินทางมายังอาคารสำนักงานเทศบาลเมืองเบตง (ชั้น3) ห้องศูนย์เครือข่าย 28 ชุมชน เพื่อสมัครสมาชิกสภาเทศบาลเมืองเบตง เขตเลือกตั้งที่ 3 (แทนตำแหน่งที่ว่าง) ตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ถึงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เวลา 08.30 น. ถึงเวลา 16.30 น โดยมี นายอรรถพงษ์ แวสือนิ ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเทศบาลเมืองเบตง นายสุทธิพงค์ สาศรินทร์ กรรมการเลือกตั้งประจำเทศบาลเมืองเบตง เจ้าหน้าที่ กกต. เจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองเบตง และประชาชน ร่วมสังเกตการณ์

โรงเรียนอนุบาลเบตงใช้เทคโนโลยีดึงชุมชนเข้าร่วมมาตรการรักษาความปลอดภัย

วันที่ 7 ก.พ. 2567 ที่โรงเรียนอนุบาลเบตง (สุภาพอนุสรณ์) อ.เบตง จ.ยะลา ภายหลังที่คณะรัฐมนตรีมีการประชุมและมีมติเห็นชอบให้ยกเว้นให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาไม่ต้องอยู่เวรรักษาการณ์สถานศึกษาและให้มีมาตรการรักษาความปลอดภัยให้ดียิ่งขึ้นโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 23 มกราคม2567 ที่ผ่านมานั้นนายจำลอง จันทรโชติ ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลเบตง (สุภาพอนุสรณ์) เปิดเผยว่า การยกเลิกมติ ครม.ให้ครูยกเลิกการเข้าเวรยามนั้น นับเป็นสิ่งที่ดี เพราะในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังคงเป็นพื้นที่ยังไม่ค่อยปลอดภัยของคณะครูโดยเฉพาะครูผู้หญิงถ้าหากคุณครูมาอยู่เวรยามนอกเวลาราชการ เช่นตอนค่ำ วันหยุดเสาร์ อาทิตย์หรือวันหยุดชดเชย ก็เป็นสิ่งที่ค่อนข้างเสี่ยงกับคุณครู ซึ่งการยกเลิกเป็นสิ่งที่ดี แต่จะมีผลกระทบบ้างสำหรับโรงเรียนที่อยู่ในชุมชนแออัดหรือปัญหาของขโมยหรือว่าปัญหายาเสพติด อาจะเข้ามางัดแงะ ถ้าทรัพย์สินเป็นของทางราชการในโรงเรียนได้ซึ่งจะให้เจ้าหน้าที่มาตรวจเวรยามตลอดเวลาก็ไม่ได้ คือก็จะมาเป็นครั้งคราว เพราะว่าภารกิจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ก็มีเยอะ หากจะกังวลเรื่องเวรยามก็กลัวครูจะไม่ปลอดภัยซึ่งในการยกเลิกนับเป็นสิ่งที่ดี ซึ่งการแก้ปัญหา  

สาว รพ.ตรังทำวุ้นกะทิสดรูปของเซ่นไหว้ตุษจีนขาย ยอดขายสุดปัง

วันที่ 7 ก.พ. 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดตรังว่า นางนงนภัส สภานุช เจ้าพนักงานสาธารณสุขโรงพยาบาลตรัง หารายได้เสริมด้วยการทำวุ้นกะทิสดรูปมังกร รูปหัวหมู ไก่ต้ม เป็ดต้ม หมูย่าง ขนมเทียน ขนมเข่ง สิ่วท้อ ส้มและผลไม้มงคลต่าง ๆ ออกขายในเทศกาลตรุษจีน โดยมีลูกค้าขาประจำและลูกค้ารายใหม่สั่งซื้อเข้ามาจนทำแทบไม่ทัน เพราะนอกจากจะหวานน้อย ดีต่อสุขภาพและอร่อยถูกปากคนเกินแล้ว ยังถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่รายได้น้อย ที่จะเลือกซื้อไปเป็นของเซ่นไหว้แทนเนื้อสัตว์ที่มีราคาแพงในช่วงเทศกาลตรุษจีน  

ไฟไหม้บ้านในชุมชนกลางเมืองสะเดาวอด 2 หลัง

วันที่ 7ก.พ.  2567 เกิดเหตุเพลิงภายในย่านถนนทองหวานวิถี เขตเทศบาลเมืองสะเดา จ.สงขลา ที่เกิดเหตุเป็นบ้านเช่าสองชั้นครึ่งปูนครึ่งไม้ที่อยู่ติดกันสองหลัง เลขที่ 6 กับเลขที่ 8  ท่ามกลางความโกลาหลของชาวบ้านที่อยู่ในบริเวณเกิดเหตุเพราะกลัวว่าไฟจะลุกลามมาถึงบ้านตนเอง จากการสอบถามทราบว่า ต้นเพลิงเกิดจากบ้านเลขที่ 8 เปิดเป็นร้านช่างเชื่อม ได้เกิดไฟโหมลุกไหม้อย่างรุนแรง โดยไหม้ทั้่งตัวบ้านและรถยนต์กระบะที่จอดอยู่ในบ้าน และยังลุกลามไปยังบ้านเลขที่ 6 ซึ่งอยู่ติดกัน    

ช่วยเหลือลุงวัย 68 ปี เร่ร่อนอาศัยชายคาวัดกว่า 10 ปี

วันที่ 7 ก.พ.  2567  นายนิติภัทร จอมเมือง นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ สนง.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดตรัง พร้อมด้วยศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จ.ตรัง อบต.โคกยาง และ รพ.สต.โคกยาง ลงพื้นที่ไปยังวัดโคกยาง อ.กันตัง จ.ตรังเข้าเยี่ยมลุงสันติ ชายวัย 68 ปี โดยคุณลุงสันติมีลักษณะรูปร่างที่ผอมบาง พกพาถุงยารักษาโรคถึงใหญ่ และสะพายกระเป๋า 1 ใบ ใส่เอกสารต่าง ๆ พูดคุยตอบคำถามรู้เรื่อง ซึ่งจากการพูดคุยคุณลุงยังมีความเป็นห่วงเพื่อนบ้านคนหนึ่งที่สนิทกันมากในละแวกดังกล่าวที่ไปมาหาสู่กันเป็นประจำ มีอายุที่ไล่เลี่ยกัน แต่ทราบว่าเพื่อนสนิทของคุณลุงมีญาติคอยดูแลเอาใจใส่ โดยตังคุณลุงสันติได้รับการช่วยเหลือจากผู้นำชุมชนให้เข้าถึงระบบสวัสดิการต่าง ๆ ของรัฐ และทราบข้อมูลว่าก่อนหน้านี้คุณลุงได้มีอาการป่วยนอนอยู่ซมอยู่ในวัดอาการไม่รู้สึกตัว ปัสสาวะ อุจจาระไหล พระในวัดและชาวบ้านต้องเข้าไปช่วยเหลือดูแล แต่ตอนนี้อาการป่วยดีขึ้นแล้ว ซึ่งจากการพูดจาเกลี้ยกล่อมดูเหมือนว่าคุณลุงยังไม่พร้อมขอเวลาตัดสินใจ    

ส่งเสริมกิจกรรม “มวยไทยเมืองลุง”

วันที่ 6  ก.พ. 2567 นายปรีชา นวลน้อย รองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง เป็นประธานในพิธีบวงสรวงพระยาทุกขราษฎร์ (ช่วย) ณ บริเวณอนุสาวรีย์พระยาทุกขราษฎร์ (ช่วย) โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ประชาชน เข้าร่วมพิธี ซึ่งในพิธีบวงสรวงประกอบด้วยการหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ที่หน้าอนุสาวรีย์พระยาทุกขราษฎร์ (ช่วย) ถวายพวงมาลัย โปรยดอกไม้ ซึ่งมีโหรหลวงทำพิธีบวงสรวง เสร็จนั้น มีพิธีไหว้ครูมีการร่ายรำในรูปแบบแม่ไม้มวยไทย อนุสาวรีย์พระยาทุกขราษฎร์ (ช่วย) ประดิษฐานอยู่ที่สามแยกท่ามิหรำ ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุงตามประวัติกล่าวว่าพระยาทุกขราษฎร์ เดิมเป็นพระ ชื่อพระมหาช่วย จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าลิไลยก์ ในรัชกาลที่ 1 ซึ่งขณะนั้นเกิดสงคราม 9 ทัพ พระมหาช่วยได้ช่วยพระยาพัทลุงนำชาวบ้านเข้าต่อต้านกองทัพพม่าจนแตกพ่าย ต่อมาจึงลาสิกขาบทแล้วได้ รับการโปรดเกล้าฯให้เป็นพระยาทุกขราษฎร์ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยทำราชการเมืองพัทลุง มีตำแหน่ง “พระยา” เทียบเท่า เจ้าเมือง ตามความเชื่อพระยาทุกขราษฎร์ (ช่วย) เมื่ออายุครบ 20 ปี ได้อุปสมบทที่วัดเขาอ้อ วัดที่มีชื่อเสียงด้านไสยศาสตร์เป็นที่นิยมของชาวเมืองต่างส่งบุตรหลานเข้าเรียนที่วัดนี้เป็นประจำ เชื่อกันว่า พระมหาช่วย ได้ศึกษาด้านไสยศาสตร์กับพระอาจารย์จอมทอง ที่วัดเขาอ้อ ณ ที่จำพรรษาที่เขาอ้อ […]