ศอ.บต.ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่สำรวจเส้นทางศึกษาธรรมชาติพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

วันที่ 18  ก.ย.  2567  ที่ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลตาเนาะแมเราะ   อ.เบตง จ.ยะลา พันโทเชิด อักษรรัตน์ ผู้อำนวยการกองประสานและเร่งรัดการพัฒนาพื้นที่พิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นประธานเปิดการประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและประวัติศาสตร์อุโมงค์ใหญ่ “ต้าสวุ่ยต้อ” ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเบตง เพื่อเตรียมรองรับการจัดทำพื้นที่ป่านันทนาการในอนาคต โดยมีนายสัจรินทร์ ศรีเสน ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดยะลา พร้อมด้วยผู้แทนสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดยะลา สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดยะลา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนราธิวาส ผู้แทนหน่วยงานท้องถิ่น และผู้แทน จาก ศอ.บต. ร่วมถึงหน่วยงานในพื้นที่ เข้าร่วมประชุม

ชาวสงขลาแห่ทำบุญรับตายายคึกคัก

วันนี้ ที่ 18 ก.ย. 2567  ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศที่วัดแหลมทราย อ.เมือง จ.สงขลา เนื่องในเทศกาลทำบุญเดือนสิบครั้งที่ 1 หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าเทศกาลชิงเปรต โดยในวันนี้พุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดสงขลาได้เดินทางมาร่วมทำบุญวันสารทเดือนสิบครั้งที่ 1 เป็นจำนวนมาก วันทำบุญเดือนสิบ ครั้งที่ 1 ซึ่งตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ประชาชนในภาคใต้เรียกว่า เทศกาลชิงเปรต โดยพุทธศาสนิกชนได้นำอาหารหวานคาว พร้อมขนมเดือนสิบไปทำบุญถวายภัตตาหารเพลแก่พระสงฆ์ที่วัดใกล้บ้าน  

ปลัดกระทรวงมหาดไทยลงพื้่นที่ติดตามสถานการณ์น้ำ เตรียมความพร้อมรับมือน้ำท่วมหาดใหญ่

วันที่ 18  ก.ย. 2567 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระรวงมหาดไทย เดินทางลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและการเตรียมความพร้อมรับมือน้ำท่วม โดยเฉพาะในพื้นที่อ.หาดใหญ่ ซึ่งเป็นเมืองเศรษฐกิจของภาคใต้ เนื่องจากในช่วงปลายปีภาคใต้จะเข้าสู่ช่วงฤดูฝนและจะมีฝนตกหนักเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วม และขณะนี้ในพื้นที่จ.สงขลาต้องเผชิญกับฝนที่เริ่มตกสะสมต่อเนื่องแล้ว  โดยมี นายเอก ยังอภัย ณ สงขลา นายอำเภอหาดใหญ่ เจ้าหน้าที่ชลประทาน 16 ปภ.สงขลา ปภ. ปภ.เขต12 เทศบาลนครหาดใหญ่ เทศบาลเมืองควนลัง เทศบาลเมืองคอหงส์ร่วมกันลงพื้นที่และสรุปสถานการณ์น้ำและการเตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วมในพื้น อ.หาดใหญ่

ปภ.ภูเก็ตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมให้ความช่วยเหลือประชาชนใช่วงฤดูฝน

วันที่ 18 ก.ย. 2567 นายโสภณ ทองไสย หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสธารณภัยจังหวัดภูเก็ต เปิดเผยว่า สำหรับ สถานการณ์อุทกภัยและดินโคนลถล่มที่เกิดขึ้นในจังหวัดภูเก็ตครั้งนี้ตั้งแต่เดือนมิถุนายนซึ่งในการเตรียมความพร้อมของจังหวัดภูเก็ตก็ได้มีการติดตาม สถานการณ์ฝนฟ้าอากาศและน้ำ คลื่นลมต่างๆ ได้มีการแจ้งเตือนไปยังพี่น้องประชาชน คณะทำงานติดตามสถานการณ์เพื่อประเมินสถานการณ์ความเสี่ยงเพื่อจะได้แจ้งเตือนพี่น้องประชาชนตามช่องทางต่างๆ เช่นทางโซเซียล กลุ่มไลน์ ทางช่องทางปกติของทางราชการ ทางสถานีวิทยุ ทุกช่องทาง ที่จะสามารถจะแจ้งเตือนให้กับพี่น้องประชาชน ในพื้นที่เสี่ยง โดยเฉพาะชุมชน หมู่บ้าน ในพื้นที่ 49 ชุมชน หมู่บ้าน ที่ได้สำรวจไว้ว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงของจังหวัดภูเก็ต ในการดำเนินการของการเตรียมความพร้อมอีกทางซึ่งอีกทางที่จะเห็นได้ชัดในการที่เราสามารถที่จะรักษาพื้นที่ของเทศบาลนครภูเก็ตไว้ได้ และในส่วนพื้นที่ป่าตองก็ดี เรื่องของการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ เครื่องกำจัดสิ่งขีดขวางทางน้ำ และความให้การชาวยเหลือพี่น้องประชาชนด้วยความด้วยความรวดเร็ว โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในส่วนของทหาร กรมป้องกันและบรรเทาสธารณภัย และหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง สามารถที่จะเข้าให้ความช่วยเหลือ คลี่คลายสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว

เมืองคอน ประชุมหารือเตรียมพร้อมรับเสด็จฯ พระบรมวงศานุวงศ์

วันที่ 17 ก.ย. 2567  ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ห้องประชุมศรีวิชัย ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช นายสมพงษ์ มากมณี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานในการประชุมเตรียมพร้อมรับเสด็จฯ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งหมายกำหนดการจะเสด็จฯ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช

สพป.ตรัง เขต 2 มอบเงินกองทุนการศึกษาเครื่องอุปโภค บริโภคสองนร.ที่ประสบเหตุวาตภัย

วันที่ 17 ก.ย. พ.ศ. 2567 นางอัมพิกา อักษรสว่าง รองผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 (สพป.ตรัง เขต 2) พร้อมด้วยนางวัลภา จันทร์มีศรี ผอ.กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา สพป.ตรัง เขต 2 นางสาวราศินีต์ แสนวงศ์ นักจิตวิทยาโรงเรียนประจำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้รับมอบหมายจากนายดุสิต ลัคนาศิโรรัตน์ รองผอ.สพป.ตรัง รักษาราชการแทน ผอ.สพป.ตรัง เขต 2 ลงพื้นที่ ณ บ้านเลขที่ 44/9 ม.2 ต.กะลาเส อ.สิเกา จ.ตรัง เพื่อพบปะให้กำลังใจกับครอบครัวนักเรียนชายชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านช่องหาร และนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดเจริญร่มเมืองที่ประสบเหตุ วาตภัยต้นไม้ล้มทับบ้านเสียหายจากเหตุพายุและฝนตกหนัก

ผู้ว่าฯ ตรัง ลงพื้นที่สำรวจประตูระบายน้ำ

วันที่ 17 ก.ย. 2567 นายทรงกลด สว่างวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ลงพื้นที่สำรวจประตูระบายน้ำหนองตรุด สั่งการทุกหน่วยงานอำนวยความสะดวกและดูแลประชาชนเต็มที่ พร้อมฝากประชาชนติดตามสถานการณ์น้ำและพยากรณ์อากาศ โดยมี หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตรัง ชลประทานตรัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่ ณ ต.บางรัก  อ.เมือง จ.ตรัง โดยผู้ว่าราชการการจังหวัดได้มีข้อสั่งการกรณีเกิดอุทกภัยโดยเร่งเข้าให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ยังติดค้างอยู่ในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย และสัตว์เลี้ยงไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย จัดศูนย์พักพิงชั่วคราวรองรับผู้ประสบภัยให้เพียงพอดูแลน้ำด้านการดำรงชีพเบื้องต้นให้เพียงพอ เหมาะสมกับความต้องการ พิจารณาถึงความต้องการพิเศษ โดยเฉพาะผู้ประสบภัย กลุ่มเปราะบาง ทั้งผู้สูงอายุ ผู้พิการ เด็ก และผู้ป่วย จัดทีมแพทย์/บุคลากรการแพทย์ เข้าดูแลสุขภาพร่างกาย และจิตใจผู้ประสบภัย เฝ้าระวังโรคที่เกิดในภาวะอุกกภัย และดูแลด้านสุขาภิบาล ในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย ดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ประสบภัยที่อพยพออกจากบ้านเรือน เพื่อป้องกันการลักขโมย และไม่เป็นการซ้ำเติมผู้ประสบภัย เร่งพื้นฟูระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน โดยเฉพาะระบบไฟฟ้า และระบบน้ำประปาใบพื้นที่ประสบภัยให้กลับมาให้บริการประชาชนได้ตามปกติโดยเร็ว พื้นที่ที่สถานการณ์เริ่มคลี่คลาย เร่งระดมกำลังเจ้าหน้าที่ เครื่องมือเครื่องจักรกลสาธารณภัย เข้าช่วยเหลือประชาชนในการทำความสะอาดบ้านเรือนที่อาศัย เปิดเส้นทางคมนาคมให้ประชาขนสามารถสัญจรได้ตามปกติโดยเร็วประสานสถาบันการศึกษาให้นำนักศึกษาอาชีวศึกษา สนับสนุนการซ่อมแซมระบบไฟฟ้า พาหนะ บ้านเรือนที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้โดยเร็ว และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เร่งสำรวจและจัดทำบัญชีความเสียหายให้ครอบคลุมทุกด้าน ให้ความช่วยเหลือตามระเบียบหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และจัดทำแผนการฟื้นฟูทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว […]

ชาวระนองเตรียมส่งของรับบริจาคช่วยชาวหนองคาย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวานนี้ 16 ก.ย. 2567 ที่มูลนิธิระนองสงเคราะห์ พงไล้จับอิ๊กเซียวเกาะ (พงไล้11) ได้เตรียมรถบรรทุก 18 ล้อ และรถบรรทุก10ล้อ รวม 3 คัน และเรือกู้ภัย 1 ลำ เพื่อนำสิ่งของรับบริจาค เช่น ข้าวสาร อาหารแห้ง อาหารกระป๋องพร้อมทาน เครื่องปรุงรส หรือน้ำมันพืช ยาสามัญประจำบ้านและเวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทำความสะอาด จากพี่น้องชาวระนอง ไปช่วยเหลือ พี่น้องชาวหนองคายที่ประสบอุทกภัยในขณะนี้

ประชาชนแห่ผูกพร้อมเพย์แน่นธนาคาร หวั่นไม่ได้เงินหมื่นดิจิทัล

วันที่ 17 ก.ย.  2567  ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ธนาคาร ธกส.สาขาเบตง อ.เบตง จ.ยะลา ประชาชนในอำเภอเบตงต่างเดินทางมาที่ธนาคารกันเป็นจำนวนมากเพื่อขอให้ทางธนาคาร ธกส.นั้นช่วยดำเนินการ ผูกบัญชีพร้อมเพย์เข้ากับบัญชีธนาคาร เพื่อเตรียมรอรับเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ภายหลังจากที่ทางรัฐบาลได้มีการประกาศเตรียมจ่ายเงินงวดแรกให้กับกลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและกลุ่มผู้พิการเริ่มตั้งแต่วันที่ 25 กันยายนนี้เป็นต้นไป ส่งผลให้บรรยากาศวันนี้ที่ธนาคาร ธกส. สาขาเบตง มีผู้มาใช้บริการกันจนแน่นธนาคารทำให้ทางเจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการเตรียมเก้าอี้ออกมาให้นั่งรอ เข้าใช้บริการกันที่หน้าธนาคารเพื่อลดความหนาแน่นภายใน ธนาคาร

ชาวไทยพุทธจับจ่ายวันสารทเดือนสิบบุญแรกพรุ่งนี้

วันที่ 17 ก.ย. 2567 ที่หน้าตลาดสดเทศบาลเมืองเบตง อ.เบตง จ.ยะลา บรรยากาศวันจ่ายวันสารทเดือนสิบบุญแรกไม่คึกคัก เนื่องจากฝนตกต่อเนื่องตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา แต่ยังไงก็ดียังคงมีประชาชนออกมาไม่ถึงกับเงียบเหงามากนัก เพื่อนำไปทำบุญที่วัดในวันพรุ่งนี้ รวมทั้งซื้อขนมเดือนสิบ ซึ่งในช่วงเศรษฐกิจไม่ดีจึงซื้อไม่มากและซื้อแบบประหยัด เพื่อเป็นการรักษาประเพณีและวัฒนธรรม การทำบุญเดือนสิบให้สามารถคงอยู่ตลอดไป