ยะลา ชาวไทยเชื้อสายจีนในเบตงจัดงานเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างอนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรมโบราณ
วันที่ 22 มิถุนายน 66 ที่สระบัวแดง หมู่ที่ 1 ตำบลธารน้ำทิพย์ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา นายเอก ยังอภัย ณ สงขลา นายอำเภอเบตง เป็นประธานเปิดงานเทศกาลวันไหว้บ๊ะจ่างประจำปี 2566 เพื่ออนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรมโบราณของชาวไทยเชื้อสายจีนและ เพื่อสร้างความสามัคคีของคนในชุมชน และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนากิจกรรมด้านการท่องเที่ยวของตำบลธารน้ำทิพย์ โดยมี นางมุกดา ยังอภัย ณ สงขลา นายกกิ่งกาชาดอำเภอบตง หัวหน้าส่วนราชการและประชาชนในพื้นที่และชาวมาเลเซียเข้าร่วมงาน
อุตรดิตถ์ แถลงข่าวการจัดงานเทศกาลทุเรียนหลง – หลิน ลับแลประจำปี 2566
เมื่อเวลา 10.00 น.ของวันที่ 22 มิถุนายน 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ทุเรียนเมืองลับแล (สวนรังสฤษฏ์) ตำบลฝายหลวง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ นายสมหวัง พ่วงบางโพ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ นางพรทิพย์ ศรีสมโภชน์ เกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ นายศิวัช ฟูบินทร์ นายอำเภอลับแล จ.ส.อ.ธวัชชัย กาวิละ รองนายกเทศมนตรีตำบลหัวดง นายอนันต์ สีแดง ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)สำนักงานแพร่-อุตรดิตถ์ ร่วมแถลงข่าวการจัดงานเทศกาลทุเรียน หลง – หลิน ลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ประจำปี 2566
“เฉลิมชัย” เปิดมหกรรมผลไม้ ชวนชิม “ทุเรียนป่าละอู”หมอนทองจีไอของห้วยสัตว์ใหญ่
เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงาน “มหกรรมผลไม้และของดีป่าละอู ครั้งที่ 10” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-25 มิ.ย.66 ที่ลานอเนกประสงค์องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ มี นายกิตติพงศ์ สุขภาคกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบฯ นายพลกฤต พวงวลัยสิน นายอำเภอหัวหิน นายวัชระ กำพร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการกระทรวงเกษตรฯ กิ่งกาชาด อ.หัวหิน หน่วยงานภาครัฐ-เอกชน อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เกษตรกร และประชาชนนักท่องเที่ยวจำนวนมากร่วมชมการแสดงจากชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงและร้านค้าต่างๆที่มาร่วมงาน โดยนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน กล่าวว่าการจัดงานดังกล่าวเพื่อนำของดีของตำบลออกมาเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นผลผลิตทางการเกษตร ทุเรียนป่าละอูผลไม้นานาชนิด อีกทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และเชิงสุขภาพหลากหลายรูปแบบ ทั้งการเผยแพร่วัฒนธรรมชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง เป็นการส่งเสริมอาชีพ เปิดตลาดให้ประชาชนในพื้นที่มีรายได้จากผลผลิตผลิตภัณฑ์ของชุมชน และสร้างระบบการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมการบริหารจัดการทรัพยากรของชุมชน โดยประชาชนของคนในชุมชนด้วยกันเองให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างต่อไป
ผู้ว่าฯ สมุทรสงคราม เจ้าหน้าที่ประมงและชาวบ้านร่วมกันจับปลาหมอคางดำ หลังชาวบ้านร้องเรียนเป็นสายพันธุ์สปีชี่ส์ทำลายสัตว์น้ำเศรษฐกิจพื้นถิ่น
วันที่ 21 มิถุนายน 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่คลองสัมมะงา คลองสาธารณะในพื้นที่ หมู่ 4 ตำบลแพรกหนามแดง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม นายสมนึก พรหมเขียว ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม และนายบัณฑิต กุลละวณิชย์ ประมงจังหวัดสมุทรสงคราม พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานประมงจังหวัดและชาวบ้านได้ร่วมกันลงแขกลงคลองจับปลาหมอคางดำ หลังชาวบ้านร้องเรียนว่าปลาดังกล่าวเป็นสายพันธุ์สปีชี่ส์ไม่ใช่สายพันธุ์ดั้งเดิมในพื้นถิ่น ซึ่งมีบริษัทยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่งนำเข้ามา เพื่อขยายพันธุ์เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจตัวใหม่ เมื่อ 6-7 ปีที่ผ่านมา เมื่อไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากเป็นปลา เนื้อแข็ง ก้างเยอะ และไม่อร่อย ทำให้ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด จึงเททิ้งในแหล่งน้ำธรรมชาติ สร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศน์แหล่งน้ำของจังหวัดสมุทรสงครามและอาจรวมไปถึงระดับประเทศในอนาคตอีกด้วย โดยวางอวนล้อมจับในคลองสัมมะงา ซึ่งมีความกว้างประมาณ 5 เมตร น้ำลึกระดับเอว ระยะทางเพียง 80 เมตร ได้ปลาหมอคางดำทั้งตัวเล็กตัวใหญ่เกือบ 100 กิโลกรัม โดยพบปลานิลซึ่งเป็นปลาพื้นถิ่นขนาดตัวเท่ากับปลาหมอคางดำเพียงแค่ 2 ตัวเท่านั้น
ยะลา โอฉี่ และมูซังคิง ทุเรียนขึ้นชื่ออำเภอเบตง
อยากอร่อยแยกให้ออกอร่อยแบบไหน ระหว่างโอฉี่ หรือ มูซังคิง ทุเรียนขึ้นชื่ออำเภอเบตง จ.ยะลา วันที่ 20 มิภุนายน 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่สวนโกดังส้ม ต.ตาเนาะแมเราะ อ.เบตง จ.ยะลา นายสามารถ บาสาลอ ผู้จำหน่ายทุเรียนในพื้นที่กำลังเก็บทุเรียนสายพันธุ์ โอฉี่ ซึ่งเป็นทุเรียนอีกหนึ่งสายพันธุ์ของประเทศมาเลเซีย และเป็นทุเรียนขึ้นชื่อของมาเลเซียที่นักบริโภคทุเรียนนิยมรับประทานกัน ลักษณะของทุเรียนโอฉี่ ที่ตูดทุเรียนจะเป็นหนามดำ ส่วนทุเรียนมูซานคิงตูดทุเรียนจะเป็นดาว ซึ่งทั้ง 2 สายพันธุ์นี้เป็นสายพันธุ์จากประเทศมาเลเซีย ซึ่งชาวเกษตรกรของอำเภอเบตง ได้นำพันธุ์ทุเรียนทั้ง 2 สายพันธุ์นี้มาปลูกในพื้นที่ ส่วนพื้นที่ปลูกทุเรียนในพื้นที่อ.เบตง จ.ยะลา จะปลูกบนพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลกว่า 1,000 เมตร ทุเรียนที่ปลูกในพื้นที่นี้จะมีลักษณะแข็งนอก นุ่มใน กรอบ อร่อย โดยในพื้นที่ อ.เบตง มีทุเรียนทั้ง หมอนทอง มูซังคิง, หนามดำ, พวงมณี, ชะนี, ก้านยาว ในพื้นที่มีทุเรียนที่หลากหลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะทุเรียนพื้นเมืองที่มีรสชาติอร่อยมาก ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการผสมสายพันธุ์ด้วย ตอนนี้การเกษตรและการท่องเที่ยวของ อ.เบตง จ.ยะลา […]
พิษณุโลก ชาวบ้านมุงสืบสานงานบายศรีพญานาคแบบวัฒนธรรมพื้นบ้าน
กลุ่มสตรีหมู่ 1 ต.บ้านมุง รวมตัวกันฝึกฝีมือในการทำบายศรีพญานาค เพื่อนำร่วมงานบุญตามวัดต่างๆ อีกทั้งเป็นการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่นับวันจะไม่มีผู้สืบทอด วันที่ 19 มิถุนายน 2566 ผู้สื่อข่าวงานว่า ที่ ต.บ้านมุง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก กลุ่มสตรีหมู่ 1 ต.บ้านมุง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก นำโดยนางอุสาพร อยู่เจริญ อายุ 51 ปี 64/1 บ้านมุง ม.1 ต.บ้านมุง และเพื่อนสตรีๆในหมู่บ้าน จะรวมตัวกันฝึกฝีมือในการนำใบตองมาทำบายศรีพญานาค เพื่อนำร่วมงานบุญตามวัดต่างๆ อีกทั้งเป็นการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่นับวันใกล้จะเลือนหายเพราะไม่มีคนสืบทอด ซึ่งการทำบายศรีพญานาค เป็นงานละเอียด ประณีต ต้องใช้เวลา และสมาธิอย่างมากในการประดิษฐ์บายศรีขึ้นมา
สุโขทัย กรวยใส่ดอกไม้ใบตองจีบ ใช้ในวันไหว้ครู สองพี่น้องสวรรคโลกออเดอร์ปัง
พิธีไหว้ครู ถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาวไทย เพราะครูเป็นคนที่ลูกศิษย์ให้ความเคารพนับถือ เป็นผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้กับลูกศิษย์ด้วยความรัก ความเมตตา และความปรารถนาดี ทำให้ เมื่อเปิดเรียนในเทอมแรก สถาบันการศึกษาต่าง ๆ จะจัดให้มีพิธีไหว้ครูขึ้น นับว่าเป็นวันสำคัญของศิษย์ เป็นวันการแสดงออก ของนักเรียน นักศึกษาจะได้น้อมรำลึกถึงพระคุณของครู โดยจะนำพานไหว้ครูมาขอพรและขอขมาต่อครูบาอาจารย์ และนอกจากพานไหว้ครูแล้วยังมีกรวยดอกไม้สำหรับไหว้ครู ปัจจุบันการทำกรวยใส่ดอกไม้จากใบตองจะยุ่งยากจึงไม่ค่อยนิยมทำกันสักเท่าไหร่
ปทุมธานี ชาวลาดหลุมแก้วร่วมปลูกต้นกล้วยริมคลองสาธารณะเพิ่มพื้นทีสีเขียวเป็นแหล่งอาหารให้ ปชช.
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 7 มิถุนายน 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณริมคลองลากค้อน หมู่ที่ 10 ตำบลหน้าไม้ อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ภายใต้การอำนวยการของนายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี นำโดย นางรัฐยา อาจหาญ เผยพร นายอำเภอ ลาดหลุมแก้ว พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ประชาชนในพื้นที่ และภาคีเครือข่ายต่างๆ ของอำเภอลาดหลุมแก้ว ร่วมกันจัดกิจกรรมปลูกต้นกล้วยในที่สาธารณะ บริเวณริมคลองลากค้อน ระยะทาง 2 กิโลเมตร เพื่อเป็นแหล่งอาหารให้มนุษย์และสัตว์ สำหรับกิจกรรมปลูกต้นกล้วย กล้วยน้ำว้าพันธุ์มะลิอ่อง กล้วยหอมทอง จำนวน 200 ต้น เป็นการเพิ่มพื้นทีสีเขียวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ ลดความเหลื่อมล้ำสร้างอาชีพและรายได้พัฒนาคุณภาพชีวิตคุณในชุมชนอย่างยั่งยืน มีข้าราชการ ผู้นำท้องถิ่น และประชาชนจิตอาสาในโครงการจิตอาสาเราทำความดีด้วยหัวใจ มาร่วมกิจกรรมกว่า 100 คน และร่วมเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี […]
นายกสมาคมแม่บ้านตำรวจเปิดการอบรมโครงการ Money Management and Investment
เมื่อวันที่ 31 พ.ค.2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คุณสุมนา กิตติประภัสร์ นายกสมาคมแม่บ้านตำรวจ เป็นประธานเปิดการอบรมโครงการ Money Management and Investment ให้กับข้าราชการตำรวจภูธรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ห้องประชุมตำรวจภูธรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีคุณณฐิกา ปิตะนีละบุตร กรรมการบริหารสมาคมแม่บ้านตำรวจและที่ปรึกษาโครงการ , คุณโยทะกา วัฒน์นครบัญชา กรรมการบริหารสมาคมฯ พล.ต.ต.ชยานนท์ มีสติ ผบก.ภ.จว.พระนครศรีอยุธยา คุณสุดา พฤกษจำรูญ ประธานแม่บ้าน ภ.จว.อ่างทอง , คุณปาริชาติ พุทไธสง รองประธานแม่บ้าน ภ.จว.พระนครศรีอยุธยา และคุณพรรณวดี ลดาวัลย์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้จัดการ หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาความรู้ตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เข้าร่วมพิธีเปิด
ชลประทานพิจิตรส่งมวลน้ำก้อนแรกให้ชาวนาลุ่มน้ำยมเพื่อให้ได้มีน้ำเพาะปลูกข้าว
วันที่ 30 พฤษภาคม 2566 นายเอกฉัตร เอี่ยมตาล ผอ.โครงการชลประทานพิจิตร ลงพื้นที่ ไปที่ประตูระบายน้ำสามง่าม หรือที่เรียกว่า ฝายไฮดรอลิกพับได้ ซึ่งตั้งอยู่ในแม่น้ำยม ที่บ้านจระเข้ผอม ต.รังนก อ.สามง่าม จ.พิจิตร เพื่อทำการส่งมวลน้ำก้อนแรกให้ชาวนาลุ่มน้ำยมเพื่อให้ได้มีน้ำเพาะปลูกข้าว โดย นายเอกฉัตร เอี่ยมตาล ผอ.โครงการชลประทานพิจิตร กล่าวว่า ตามที่กรมอุตุฯ ประกาศให้เข้าสู่ฤดูฝนมาตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค. 66 ก็ทำให้ภาคเหนือตอนบนต้นน้ำของแม่น้ำยมรวมถึงในพื้นที่จังหวัดพิจิตร ก็มีฝนตกลงมาแล้ว ซึ่งทำให้ชาวนาที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำยมเริ่มลงมือทำนาปลูกข้าวกันแล้ว ดังนั้นน้ำจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร