ททท.เลย ชวนเที่ยว เสริมศรัทธาบารมี 4 ประเพณี มหาสงกรานต์ ปี 2567

เมื่อเวลา 11.00 น.วันที่ 7 มี.ค. 2567 นายจริยาทร สูหู่ ผู้อำนวยการ ททท.สำนักงานเลย กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลมหาสงกรานต์ปี 2567 วันที่ 14-16 เมษายน 2567 จ. เลย มีกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยว จึงจัดโครงการเพื่อเชิญชวนเที่ยวนักท่องเที่ยวนั่นคือ” เสริมศรัทธาบารมี 4 ประเพณี มหาสงกรานต์ 2567” ขึ้นระหว่างวันที่ 14-16 เม.ย.67จ. เลย มีกิจกรรม งานต่างๆ รองรับที่หากหลายแห่ง ด้วยกัน

 

 

โดยเริ่มในวันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน 2567 ช่วงเช้า – เดินทางจากภูมิลาเนา ไปที่วัดศรีโพธิ์ชัย บ้านสงภา อ.นาแห้ว จ.เลย ระหว่างเดินทางแวะเช็คอินถ่ายภาพที่ ภูเก้าง้อม หรือ “ถนนหมายเลข 9” จุดเช็คอินยอดฮิตของนาแห้ว แวะเช็คอินที่จุดผ่อนปรนชายแดนไทย-ลาว บ้านเหมืองแพร่ ถ่ายภาพเป็นที่ระลึกที่ “สะพานไม้ไผ่สามัคคี
ไทย-ลาว” ที่ชาว อ.นาแห้ว กับชาวเมืองบ่อแตน แขวงไชยะบุรี สปป.ลาว ได้ร่วมกันสร้างขึ้นมาในช่วงฤดูแล้ง ของทุกปี เพื่อช่วยอานวยความสะดวกในการเดินทางข้ามลาน้าเหืองไปมาหาสู่ระหว่างชุมชนทั้งสองประเทศ ในทุกๆ วันพระ – เดินทางถึงวัดศรีโพธิ์ชัย บ้านแสงภา ต.แสงภา อ.นาแห้ว จ.เลย นักท่องเที่ยวร่วมกิจกรรมไหว้พระทาบุญ ภายในสิมโบราณอายุกว่า 477 ปี ชมวิวทิวทัศน์ด้านหลังวัดศรีโพธิ์ชัย บริเวณด้านหน้า อบต.แสงภา ถ่ายภาพเช็คอินกับหอชมวิวต้นดอกไม้ จำลอง และกระท่อม+สะพานไม้ไผ่กลางทุ่งนา หรือจะแวะไปช้อปปิ้งและเลือกซื้อของฝากที่ร้านแม็คเลย บ้านบ่อเหมืองน้อย พร้อมชิมเครื่องดื่มเมนูอร่อยๆ นาคณะนักท่องเที่ยวร่วมกิจกรรมติดประดับดอกไม้สดเพื่อตกแต่งต้นดอกไม้ยักษ์ ร่วมกับชุมชน ชาวบ้านแสงภาตามคุ้มต่างๆ ที่กระจายกันทาอยู่ภายในหมู่บ้าน เพื่อใช้แห่ต้นดอกไม้ยักษ์ในช่วงค่าคืน เมื่อติดประดับต้นดอกไม้เสร็จสิ้นแล้ว ชาวบ้านผู้ชายจะช่วยกันแบกต้นดอกไม้เข้าไปตั้งไว้ที่วัดศรีโพธิ์ชัย นทท. ร่วมกับชาวชุมชนแสงภาจุดเทียนรอบๆ คานหามต้นดอกไม้เพื่อบูชาพระรัตนตรัย โดยมีความเชื่อว่าจะทาให้ ชีวิตของเราเจริญรุ่งเรืองดั่งแสงเทียนที่ส่องสว่างท่ามกลางความมืดมิด

ร่วมพิธีเปิดงานประเพณีแห่ต้นดอกไม้ยักษ์ บ้านแสงภา ประจาปี 2567 พิธีไหว้พระบูชาพระรัตนตรัย ชมพิธีแห่ต้นดอกไม้ยักษ์ที่น่ารักสนุกสนานรอบสิมวัด จานวน 3 รอบ เมื่อแห่ต้นดอกไม้ครบ 3 รอบแล้ว ผู้ร่วมพิธีไหว้พระ

 

 

 

 

ต่อมาวันจันทร์ที่ 15 เมษายน 2567 ที่อุทยานแห่งชาติภูเรือ อ.ภูเรือ จ.เลย ช้วงเวลา 09.00 น. ร่วมงานประเพณีสรงน้ำพระพุทธนาวาบรรพต ชมขบวนแห่เริ่มเดินและฟ้อนราจากจุดตั้งขบวนเพื่อขึ้นไปที่ยอดภู ขบวนแห่ไปถึงที่ตั้งของพระพุทธนาวาบรรพต บนยอดภูเรือ พิธีกรรมไหว้พระสวดมนต์ พิธีสรงน้ำองค์พระพุทธนาวาบรรพต พิธีห่มผ้าองค์พระพุทธนาวาบรรพต พิธีฟ้อนราและเล่นสาดน้าฉลองวันขึ้นปีใหม่ไทย

จากนั้นคณะเดินทางลงจากอุทยานฯ แวะทำบุญไหว้พระที่วัดสมเด็จภูเรือมิ่งเมือง วัดสวยที่มีวิหารและอาคารที่สร้างจากไม้แกะสลักเป็นลวดลายต่างๆ สวยงามมาก ต่อด้วยทำบุญไหว้พระที่วัดป่าห้วยลาด อ.ภูเรือ หรือ ไปชมวัดเนรมิตวิปัสสนา อ.ด่านซ้าย

 

– ไปชมพิพิธภัณฑ์ผีตาโขนที่วัดโพนชัย ถ่ายภาพกับมุมตกแต่งด้วยหุ่นปั้นผีตาโขน หน้ากากผีตาโขน และ ภาพเขียน Street Art เก๋ๆ บนกาแพงภายในวัดโพนชัย

คณะเจ้าพ่อกวน พ่อแสน ลูกผึ้งลูกเทียน และผู้เข้าร่วมขบวนแห่ เริ่มต้นเดินจากบ้านเจ้าพ่อกวนไปตามถนน แล้วไปเลี้ยวขวาที่สี่แยกไฟแดงบ้านเดิ่น พอถึงหน้าซุ้มประตูวัดโพนชัย พระสงฆ์ของวัดจะเข้าร่วมขบวนแห่ เดินไปตามถนนแก้วอาสา ข้ามสะพานลาน้าหมัน แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ซอยเทศบาล 2 ไปจนถึงบ้านเจ้าแม่นางเทียม คณะเจ้าแม่นางเทียม แม่แต่งและลูกผึ้งลูกเทียน จะเข้าร่วมขบวนแห่แล้วเดินไปตามซอยเทศบาล 4 ตามเส้นทางโบราณผ่านสะพานข้ามลาน้าอู้ ผ่านหอหลวง ไปจนถึงพระธาตุศรีสองรัก

 

– แห่รอบพระธาตุศรีสองรัก จานวน 3 รอบ โดยวนทางด้านซ้ายมือ โดยมีความเชื่อว่า เป็นการสื่อความหมายในการน้อมตนและน้อมหัวใจด้วยใจรักเคารพและเทิดทูนบูรพกษัตริย์ไทย คือสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ แห่งกรุงศรีอยุธยา และพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช แห่งกรุงกรุงศรีสัตนาคนหุต (ปัจจุบันคือ เวียงจันทน์ สปป.ลาว) ที่ได้ร่วมกันสร้างพระธาตุศรีสองรัก เพื่อเป็นที่ระลึกในการทาไมตรีต่อกัน อีกทั้งเพื่อตกลงรวมกาลัง เพื่อต่อสู้กับพม่า จึงทรงกระทาสัตยาธิษฐานว่าจะไม่ล่วงล้าดินแดนของกันและกัน เป็นสักขีพยาน ณ กึ่งกลางระหว่างแม่น้าน่านและแม่น้าโขง ซึ่งเป็นรอยต่อของทั้งสองราชอาณาจักร พิธีสวดมนต์และกล่าวคาบูชาพระธาตุศรีสองรัก พิธีสรงน้ำและประพรมน้าพระธาตุศรีสองรัก

 

 

 

 

 

วันอังคารที่ 16 เมษายน 2567 เริ่มขึ้นจากเวลา 03.40 น. – คณะพร้อมกันที่บ้านเจ้าพ่อกวน อ.ด่านซ้าย เพื่อร่วมขบวนประเพณีแห่ข้าวพันก้อนถวายพระธาตุศรีสองรัก เริ่มออกเดินจากบ้านเจ้าพ่อกวน ไปตามเส้นทางเดียวกับประเพณีแห่ดอกไม้ ทำพิธีสวดมนต์และกล่าวคาบูชาพระธาตุศรีสองรัก พิธีวางข้าวพันก้อนรอบองค์พระธาตุฯ ผู้ชายจะวางข้าวด้านในฐานองค์พระธาตุฯ ส่วนผู้หญิงจะวางไว้บน กาแพงรั้วรอบองค์พระธาตุศรีสองรัก ทั้งนี้ พิธีกรรมวางข้าวพันก้อน จะต้องกระทาการก่อนแสงอาทิตย์แรกจะโผล่พ้นขอบฟ้า การถวายต้นผึ้ง พิธีนี้การแต่งกาย ของผู้เข้าร่วมงานประเพณีแห่ดอกไม้ และแห่ข้าวพันก้อนถวายบูชาพระธาตุศรีสองรัก ชุดขาว หรือ เสื้อขาว ส่วนกางเกงหรือกระโปรง/ผ้าซิ่น ห้ามสวมใส่สีแดง!! ห้ามสวมหมวก เครื่องแต่งกาย หรือร่ม ที่เป็นสีแดง.

 

 

 

 

ข่าว/ภาพ บุญชู ศรีไตรภพ ผู้สื่อข่าว จ.เลย